<< Go Back

แร่ควอตซ์

               ควอตซ์ (อังกฤษ: Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร์

                           คุณสมบัติ
                             สี มีทั้งโปร่งใส จนถึงทึบแสง มีมากมายแทบจะทุกสี
                             ควอตซ์มีค่าความแข็งที่ 7 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
                             นอกจากนี้ ควอตซ์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือมี piezoelectric คือไฟฟ้าที่เกิดจากการกดดันทางกลไกที่มีต่อผลึก
          ซึ่งทำให้เกิดมีประจุไฟฟ้าขึ้นในควอตซ์ (เช่นเดียวกับทัวร์มาลีน) ด้วยคุณสมบัตินี้จึงนำมาใช้ควบคุมความถี่คลื่นวิทยุ ควบคุมความเที่ยงตรงของนาฬิกากันน้ำ ที่เราเรียกกันว่า นาฬิกาควอตซ์ และด้วยความโปร่งใสต่อแสงอัลตราไวโอเลต ทำให้ควอตซ์เหมาะที่จะนำมาทำเป็นเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อีกด้วย

                           รูปแบบผลึก
                           ด้วยลักษณะของผลึก ทำให้ควอตซ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

              แบบผลึกเดี่ยว Single Quartz หรือ Crystalline Quartz เป็นผลึกที่มีการเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีที่พบ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต นาฬิกา, เลนส์ และอุปกรณ์ควบคุมความถี่ของคลื่นวิทยุ ที่รู้จักและนิยมในท้องตลาดก็คือ ควอตซ์สีเหลือง ที่เรียกว่า ซิทรีน (Citrine) และสีม่วงที่เรียกว่า แอเมทิสต์ (Amethyst)แอเมทิสต์ที่เจียระไนแล้ว

              แบบ Microcrystalline ประกอบด้วยกลุ่มผลึกเล็กๆ ไม่สามารถมองเห็นรูปผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินตาเสือ (Tiger's eye) ที่คนไทยเรียกว่า คดไม้สัก เป็นต้น

                 แบบ Cryptocrystalline Quartz หรือที่เรียกว่า คาลเซโดนี Chalcedony เป็นควอตซ์ที่มีผลึกเล็กๆ ละเอียดรวมตัวกันเป็นจำน
วนมาก ต่างจากแบบ Microcrystalline คือเป็นผลึกเล็กๆ มารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มผลึก มีลักษณะเล็กกว่ากลุ่มผลึกนั่นเอง เช่น เจสเปอร์, เลือดพระลักษณ์ (Bloodstone) และอาเกท เป็นต้น.

                          ประโยชน์

                       แร่ควอตซ์ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ กันมากมาย เช่น ควอตซ์สีม่วง ควอตซ์สีชมพู ควอตซ์สีควันไฟ แก้วตาเสือ อะเวนจูรีน คาร์เนเลียน อะเกต และโอนิกซ์ ใช้เป็นรัตนชาติ และหินประดับ แร่ควอตซ์ที่อยู่ในรูปของทราย ถูกนำมาใช้ผสมทำคอนกรีต ทำครก ใช้เป็น flux และวัสดุสำหรับขัดสี (abrasive) ในอุตสาหกรรมแก้ว และอิฐ ควอตซ์ที่เป็นผงใช้ทำเครื่องเคลือบ (porcelain) กระดาษทราย สบู่ และเติมลงไปในไม้ (wood filter) สำหรับควอตไซท์ และหินทรายถูกใช้เป็นหินก่อสร้าง และทำอิฐปูทางเท้า นอกจากจะใช้เป็นรัตนชาติ และใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ แล้ว แร่ควอตซ์ยังถูกนำไปใช้ ทำเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ และเครื่องมือทางแสงอีกด้วย โดยนำไปทำเลนส์ และปริซึม ซึ่งใช้ในงานวิทยาศาสตร์หลายแขนง

 

ขอบคุณที่มา

http://www.patchra.net/minerals/MinDesc/quartz.php
https://th.wikipedia.org/wiki/ควอตซ์

<< Go Back