<< Go Back

อนินทรียวัตถุ

                            อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่

                          ดินส่วนใหญ่จะประกอบด้วยอินทรียวัตถุ น้อยกว่า 5% โดยน้ำหนัก อิทธิพลของอินทรียวัตถุต่อคุณสมบัติของดินที่สำคัญพอจะสรุปได้ดังนี้
                            ช่วยในการเกาะตัวของอนุภาคดิน เกิดเป็นโครงสร้างของดินที่ดีและคงทน ซึ่งทำให้ดินนั้นมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และการถ่ายเทอากาศดี
                            เป็นแหล่งที่สำคัญของธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และกำมะถัน (S) ในดินที่
ไม่มีการใส่ปุ๋ย
                             ช่วยในการดูดยึดธาตุอาหารไม่ให้สูญเสียไปจากดินได้โดยง่าย
                            เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งกำลังดำเนินกิจกรรมที่มีผลต่อคุณสมบัติของดิน และ การเจริญ
เติบโตของพืช อินทรียวัตถุประกอบด้วยธาตุหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือธาตุคาร์บอน (C) นอกจากนี้มีธาตุ ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟรอรัส และ กำมะถัน ถึงแม้ว่าอินทรียวัตถุอาจได้มา จากสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และพบว่าส่วนใหญ่จะมาจากรากพืช และเศษซากพืช โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ (Microorganism)

                          รากและเศษซากพืชมีส่วนประกอบสำคัญแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ โปลีแซคคาไรด์ (Polysaccaride) โปรตีน (Protein) และลิกนิน (Lignin) โปลีแซกคาร์ไรด์เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรทที่ไม่ซับซ้อน แปรสภาพและสลายตัวได้ง่าย เช่น กลูโคส (Glucose) เซลลูโลส (Cellulose) และ เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose)
                            การสลายตัวของรากและเศษซากพืชเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ โดยพวกสารประกอบที่มีโครงสร้างของโมเลกุลไม่ซับซ้อนจะถูกย่อยสลายก่อน จากนั้นจึงเป็นการย่อยสลายของสารที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับ ผลของการสลายตัวดังกล่าวนี้จะได้สารซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างซับซ้อนคงทนต่อการสลายตัวสูงจึงสลายตัวได้ช้ามาก มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ประกอบด้วยธาตุอาหารพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน นอกจากนี้ฮิวมัสยังช่วยให้ดินมีคุณสมบัติทางการภาพที่ดี สามารถอุ้มน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี

                          อนินทรียวัตถุ อยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
                                        1. กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.)
                                        2. กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.)
                                        3. กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม)

 

 

ขอบคุณที่มา

http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_compo2.htm
https://www.dek-d.com/board/view/1155765/

<< Go Back