<< Go Back

 แกมีโทไฟต์เพศผู้ (microgametophyte หรือ male gametophyte)

     ในหัวข้อนี้ เราจะเข้าสู่รายละเอียดต่อไปอีก ส่วนที่จะกล่าวถึงนี้คือแกมีโทไฟต์เพศผู้ ที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย ส่วนนี้เป็นส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (microgamete หรือ male gamete) ที่จะเข้าผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (megagamete หรือ female gamete) ต่อไป

     กล่าวอย่างกว้างๆแต่ไม่ถูกต้องนัก แกมีโทไฟต์เพศผู้ ก็คือละอองเรณูที่เจริญเต็มวัย หากกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง ก็คือหลอดเรณู) ที่กำลังงอก ออกจากละอองเรณูนั่นเอง

     หลังจากเซลล์กำเนิดไมโครสปอร์ (microsporocyte; 2n) มีการแบ่งตัวแบบไมโอซิสและมีการแบ่งไซโทพลาซึม ได้กลุ่มละสี่ (tetrad) ของไมโครสปอร์ (1n) ในขบวนการการเกิดไมโครสปอร์แล้วต่อจากนั้น กลุ่มละสี่ของไมโครสปอร์จะพัฒนาต่อโดยแยกจากกันเป็น ไมโครสปอร์ อิสระ ไมโครสปอร์แต่ละชิ้นจะเข้าสู่ขบวนการการเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (microgametogenesis) มีการแบ่งเซลล์จนได้ละอองเรณูที่มีเอกซีน และอินทีนหุ้มโดยรอบ ขบวนการในช่วงนี้ยังเกิดอยู่ในอับเรณู เมื่อมีการถ่ายเรณู และเรณูเริ่มงอก จะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส และแบ่งไซโทพลาซึมแบบไม่เท่ากันหรือบางครั้งเรียกว่าแบ่งขั้ว ได้สองเซลล์ในหนึ่งเรณู คือเซลล์เจเนอเรทิฟ (generative cell) ที่จะสร้าง เซลล์สเปิร์ม (1n) ต่อไป และเซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศ (vegetative cell) หรือเซลล์หลอด (tube cell) เหตุที่เรียกว่าเซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศ เนื่องจาก เซลล์นี้ไม่ได้สร้างสเปิร์ม และเหตุที่เรียกว่าเซลล์หลอด เนื่องจากเซลล์นี้สร้างหลอดเรณูนั่นเอง โปรดสังเกตให้ดีว่า เซลล์เจเนอเรทิฟทั้งเซลล์ อยู่ในไซโท พลาซึมของเซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศ ขบวนการในช่วงนี้เกิดอยู่ในเกสรเพศเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนยอดและก้านเกสรเพศเมีย

นิวเคลียสเซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศ                      

ละอองเรณูที่เจริญเต็มที่

* ไม่ใช่ชนิดเดียวกับแคลโลสที่อยู่ภายนอกไมโครสปอร์

ภาพลำดับขั้นตอนการเกิดแกมีโทไฟต์เพศผู้

     ในระยะที่ละอองเรณูร่วงออกจากอับเรณู พืชดอกส่วนมากมีแกมีโทไฟต์เพศผู้ที่มีสองเซลล์ นั่นคือเซลล์เจเนอเรทิฟหนึ่งเซลล์ที่อยู่ภายในเซลล์ ไม่เกี่ยวกับเพศหนึ่งเซลล์ ซึ่งต่อไปเซลล์เจเนอเรทิฟจะแบ่งตัวแบบไมโทซิสได้เซลล์สเปิร์มสองเซลล์ในภายหลัง ลักษณะนี้เป็นลักษณะดึกดำบรรพ์ ในแง่วิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่นลิลี่ ในพืชดอกบางชนิดซึ่งมีทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ ที่ระยะเรณูร่วงนี้อาจจะมีสามเซลล์ คือเซลล์สเปิร์ม สองเซลล์อยู่ภายใน เซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศหนึ่งเซลล์ ลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ก้าวหน้ากว่า ตัวอย่างเช่น silphium

อาจแสดงขั้นตอนการเกิดแกมีโทไฟต์เพศผู้เป็นแผนภาพได้ดังนี้

   
   
   
   
   

ที่มา - http://www.agri.ubu.ac.th/~kitti/part2/gametophyte.html

รูปภาพแกมีโทไฟต์

ภาพแสดงเซลล์พืช

ภาพแสดงการเปรียบเทียบเซลล์พืช และเซลล์สัตว์

http://www.student.chula.ac.th/~53370955/

ละอองเรณูที่เจริญเต็มที่

ที่มา - http://www.agri.ubu.ac.th/~kitti/part2/gametophyte.html

<< Go Back