<< Go Back

อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่

- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสง
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสง ได้แก่ หลอดไฟ ซึ่งหลอดไฟในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ หลอดธรรมดาหรือหลอดแบบมีไส้ (Incandescent Lamp) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ซึ่งหลอดไฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันดังนี้
หลอดธรรมดา มีลักษณะเป็นกระเปาะแก้วใส ภายในมีไส้หลอดขดเป็นสปริงบรรจุอยู่ ไส้หลอดมักทำด้วยโลหะทังสเตนกับออสเมียม ภายในหลอดบรรจุก๊าซไนโตรเจนและอาร์กอน เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดที่มีความต้านทานสูงไส้หลอดจะร้อนจนเปล่งแสงออกมา
ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่บุเรามักเรียกว่าหลอดนีออน ภายในเป็นสุญญากาศบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย ผิวด้านในฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอปรอทอะตอมของปรอทจะคายรังสีอัลตราไวโอเลตออกมา เมื่อรังสีนี้กระทบกับสารเรืองแสงจะเปล่งแสงสว่าง ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายรูปแบบ เช่น หลอดผอม หลอดตะเกียบ ซึ่งช่วยประหยัดไฟฟ้าได้มาก

หลอดธรรมดา หลอดฟลูออเรสเซนต์

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงงานความร้อน เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า หัวแร้งบัดกรี เครื่องเป่าผม เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
หลักการของอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทนี้ มักจะประกอบด้วยขดลวดความร้อน (ปกติทำจากโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและโครเมียม) โดยเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในขดลวด
ทั้งนี้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน ต้องการปริมาณกระแสไฟฟ้ามากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นหลายเท่า ดังนั้นก่อนและหลังการใช้งานต้องตรวจสภาพสายไฟฟ้า เต้ารับ เต้าเสียบ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดเต้าเสียบออกทุกครั้ง

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล เรียกว่า มอเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ขดลวด และแม่เหล็ก เช่นเดียวกับไดนาโม แต่จะทำงานตรงข้ามกับไดนาโม นั่นคือ มอเตอร์จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล โดยให้แกระแสผ่านขเลวด ทำให้ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งจะส่งผลกับแม่เหล็กที่มีอยู่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กขึ้น ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหมุนหรือเคลื่อนที่ตามที่เรากำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น พัดลม เครื่องปั่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องเล่น VCD ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงงานเสียง เช่นเครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง กระดิ่งไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องรับวิทยุ จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง โดยรับสัญญาณวิทยุจากสถานีวิทยุ แล้วใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าให้สูงขึ้น แล้วส่งต่อให้ลำโพง ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีดังนี้
1. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
2. หมั่นตรวจดูสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
3. ถ้าไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า อย่าแก้ไขหรือซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองเป็นอันขาด
4. หากพบว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ซึ่งควรให้ผู้ที่มีความรู้ด้านไฟฟ้ามาตรวจสอบ

 

 


    http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/11/Electricity-web/html/content-html/device.html

<< Go Back