ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (อังกฤษ: Galilean moons) คือ ดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดย กาลิเลโอ กาลิเลอี ในราวเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1610 ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี ชื่อของดวงจันทร์ทั้ง 4 ได้รับการตั้งชื่อคนรักของ ซูส ได้แก่ ไอโอ (Io) ยูโรปา (Europa) แกนิมิด (Ganymede) และ คาลลิสโต (Callisto) ดวงจันทร์ทั้ง 4 เป็นวัตถุที่มีมวลมากที่สุดในระบบสุริยะนอกเหนือจากดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งแปดดวง มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่กว่าดาวเคราะห์แคระใดๆ ดวงจันทร์สามดวงด้านใน ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมิด มีการสั่นพ้องของวงโคจรที่ 1:2:4 ไอโอ (Io) ยูโรปา (Europa) แกนิมิด (Ganymede) และ คาลลิสโต (Callisto) ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงถูกค้นพบในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1609 ถึง 1610 เมื่อกาลิเลโอได้ปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งทำให้เขาสามารถสังเกตเห็นเทหฟากฟ้าได้ชัดเจนขึ้นกว่าที่ผ่านมา การค้นพบของกาลิเลโอแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ ในฐานะของเครื่องมือสำหรับนักดาราศาสตร์ในการช่วยให้สามารถเห็นวัตถุในอวกาศที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นการค้นพบที่ไม่อาจโต้แย้งถึงการโคจรของดวงดาวหรือเทหฟากฟ้ารอบสิ่งอื่นๆ นอกจากโลกนี้ได้สั่นคลอนอย่างรุนแรงต่อระบบโลกของปโตเลมี (Ptolemaic world system) ที่ได้รับการยอมรับในขณะนั้น ระบบโลกของปโตเลมีเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดาวดาวและวัตถุต่างๆโคจรรอบโลก ในตอนแรกกาลิเลโอได้ตั้งชื่อสิ่งที่ค้นพบครั้งนี้ว่า ดวงดาวของคอสิโม (Cosmica Sidera) ("Cosimo's stars") สำหรับชื่อของดวงจันทร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการตั้งชื่อโดย Simon Marius ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ทั้งสี่นี้ในช่วงเวลาเดียวกันกับกาลิเลโอ ชื่อดวงจันทร์นี้ได้รับการแนะนำจาก โยฮันเนส เคปเลอร์ ซึ่งตีพิมพ์ Mundus Jovialis ในปี ค.ศ. 1614 คำอธิบายภาพ
ที่มา : http://www.nstda.or.th/jaxa-thailand/ดวงจันทร์กาลิเลียน-galilean-moons/ |