<< Go Back

สารเซลลูโลส
                เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ (cell wall) ในพืช เกิดจากกลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว แต่ละสายของสายของเซลลูโลสเรียงขนานกันไป มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสาย ทำให้มีลักษณะเป็นเส้นใย สะสมไว้ในพืช ไม่พบในเซลล์สัตว์

สารโมเลกุลเซลลูโลส (conformation Iα), เส้นประแสดง พันธะไฮโดรเจน ภายในและระหว่างโมเลกุล
ที่มาภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลูโลส                 

                เซลล์ลูโลสไม่ละลายน้ำและร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่ในกระเพาะของวัว ควาย ม้า และสัตว์ที่เท้ามีกีบ มีแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้ ถึงแม้ว่าร่างกายของมนุษย์จะย่อยเซลลูโลสไม่ได้ แต่เซลลูโลสจะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว เส้นใยบางชนิดสามารถดูดซับน้ำได้ดี จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ลดโอกาสการการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
                เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะแตกตัวออก ให้น้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเซลล์ (structural carbohydrate) ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือโมเลกุลของกลูโคส (glucose subunits) 1,000-10,000 โมเลกุล มีน้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) 200,000-2,000,000 หน่วยย่อยพื้นฐาน (basic subunit) คือ เซลโลไบโอส (cellobiose) ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส 2 โมเลกุล ต่อกันด้วยพันธะ b - (1-4) ไกลโคซิดิก โดยที่ไม่มีการแตกแขนง เซลลูโลสใน primary cell wall ประกอบด้วยกลูโคสยาวประมาณ 2,000 โมเลกุล และอย่างน้อย 14,000 โมเลกุลใน secondary cell wall โดยโมเลกุลของเซลลูโลสจะเกาะกันเป็นคู่ตามยาวและเรียงขนานกันเป็นกลุ่ม 40 คู่ เรียกว่า microfibril ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงกับผนังเซลล์ของพืช ปริมาณของเซลลูโลสอาจพบน้อยมากในส่วนที่สะสมอาหาร เช่น ในอินทผาลัมมีเพียง 0.8% ขณะที่ในส่วนของเส้นใยฝ้าย (cotton fibers) มีมากถึง 98%

ส่วนประกอบ
         เซลลูโลส มีส่วนประกอบทางเคมีพวกคาร์โบไฮเดรต (สารพวกเดียวกับแป้งและน้ำตาล) โมเลกุลใหญ่ ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลเดี่ยวที่สูญน้ำไป ๑ โมเลกุล (C6H10O5)เชื่อมต่อกันหลาย ๆ โมเลกุล ย่อยสลายตัวได้ยาก โมเลกุลของเซลลูโลสเรียงตัวกันในผนัง-เซลล์ของพืช เป็นหน่วยเส้นใยขนาดเล็กมากเกาะจับตัวกันเป็นเส้นใย ในพืชบางชนิดนั้นเส้นใยเป็นผนังเซลล์เซลล์เดียวของพืช เข่น ใยฝ้ายเป็นขนจากชั้นของเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกสุด

ประโยชน์
เมื่อพิจารณาจากส่วนของพืชที่ให้เส้นใยที่นำไปใช้ประโยชน์ ก็แบ่งได้ ดังนี้
               ๑. ขน ที่เมล็ดหรือผนังด้านในของผล เช่น ฝ้าย รัก นุ่น และงิ้ว
               ๒. เส้นใยในเนื้อเยื่อด้านในของเปลือกของลำต้น เช่น ปอแก้ว ปอกระเจา ปอกัญชา ป่านลินิน และป่านรามี เส้นใยที่ได้จากเนื้อเยื่อส่วนเปลือกของลำต้นนั้นส่วนใหญ่เรียกว่า "ปอ" ส่วนที่ได้จากเนื้อเยื่อของใบเรียกว่า "ป่าน" อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้เรียกแยกกันอย่างชัดเจน เช่น รามีและลินิน ให้เส้นใยจากลำต้นแต่เรียกกันว่า ป่านรามีและป่านลินิน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะให้เส้นใยที่เหนียว แข็ง หรือมักใช้ทอผ้าเนื้อบางหรือทอด้วยด้ายเส้นเล็กหรือละเอียดก็ได้
    ๓. เส้นใยจากใบ ซึ่งเป็นส่วนท่อน้ำท่ออาหารของใบ เช่น ป่านศรนารายณ์ สับปะรดกล้วย มีส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ตัวใบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบ
   
๔. เส้นใยที่เป็นเนื้อไม้ของต้นไม้ เป็นส่วนเนื้อเยื่อของท่อน้ำท่ออาหาร ใช้ในการทำกระดาษเป็นส่วนใหญ่ เช่น ยูคาลิปตัส สนสามใบหรือสนเกี๊ยะ ปอแก้ว ปอสา และต้นพืชล้มลุก โดยใช้กระบวนการที่เหมาะสมแยกเส้นใยจากเนื้อไม้ แล้วนำเส้นใยนี้ไปใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งทอได้ เช่น ผลิตเส้นใยเรยองหรือไหมเทียม (หมายรวมถึงเส้นใยที่ได้จากเซลลูโลสและอนุพันธ์ของเซลลูโลส) จากไม้ยูคาลิปตัส
    ๕. เส้นใยจากส่วนอื่น ๆ เช่น ทางหรือก้านใบประกอบของต้นปาล์ม ใช้ทำแปรง ส่วนเปลือกของผล (กาบมะพร้าว) หรือแม้กระทั่งรากมะพร้าวใช้ทำเชือก เป็นต้น เราอาจแบ่งพืชเส้นใยได้อย่างคร่าว ๆ เนื่องจากไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดแจ้งเพราะมีลักษณะที่คาบเกี่ยวกัน จึงอาจแบ่งตามลักษณะการนำวัตถุดิบของพืชเส้นใยไปใช้งานดังนี้
          ๑. ใช้ทำสิ่งทอ โดยปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้า เช่น ฝ้าย ป่านรามี ปอกระเจา และป่านลินิน
          ๒. ใช้ทำเชือก เช่น ป่านศรนารายณ์ ปอแก้ว กล้วย และมะพร้าว
          ๓. ใช้ยัดที่นอน ผ้าห่ม หมอน เบาะ เก้าอี้นวม เครื่องครุภัณฑ์ เช่น นุ่น งิ้ว รักฝ้าย และมะพร้าว
          ๔. ใช้ทำกระดาษ ซึ่งอาจใช้วิธีการง่าย ๆ หรือกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม ใช้กับพืชหลายชนิด เพราะพืชให้เซลลูโลสที่นำไปใช้ทำกระดาษได้ เช่น พวกไม้เนื้ออ่อน สนบางชนิด ยูคาลิปตัส ฟางข้าว หญ้าขจรจบ หรือต้นพืชล้มลุกอื่น ๆ แม้กระทั่งเส้นใยที่ใช้ในสิ่งทอ เช่น เส้นใยฝ้ายสั้น ๆ ที่ไม่อาจนำไปปั่นทอได้ดี
          ๕. ใช้ทำแปรง และสานหรือทอเป็นผืนแบบเสื่อ เช่น มะพร้าว ป่านศรนารายณ์และกก
          ๖. ใช้ทำสิ่งของอื่น ๆ ได้แก่ ตะกร้า หมวก เช่น กล้วยให้กาบใบ และส่วนอื่นสำหรับประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ผักตบชวาใช้ผลิตเปลแขวนและภาชนะอย่างอื่น ย่านลิเภาซึ่งเป็นพวกเถาวัลย์ ใช้สานทำภาชนะได้อย่างสวยงาม กกใช้ทอเสื่อและสิ่งประดิษฐ์อื่น ไผ่ที่เอามาจักหรือผ่าเป็นเส้นใช้สานหรือทอ และต้นหวายซึ่งก็เป็นพืชตระกูลปาล์มที่ใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรมได้กว้างขวางมาก ต่อจากนี้ไปจะได้กล่าวถึงพืชเส้นใยที่เกี่ยวพันกับสังคมชาวไทย ในแง่ที่คนไทยปลูกเพื่อดำรงชีพหรือใช้ประโยชน์ รวมทั้งพืชบางชนิดที่ได้รับความสนใจที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป โดยจะกล่าวถึงลักษณะทั่วไป การใช้ประโยชน์ ประวัติและการปลูกโดยสังเขป รวมทั้งข้อคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม อันอาจจะมีผลให้คนรุ่นหลังได้ทราบและวิเคราะห์เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ขอบคุณที่มา
    http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%E0%AB%C5%C5%D9%E2%C5%CA&select=2&sk=d&ue=utf8
    http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2495

<< Go Back