<< Go Back

ฟอสฟอรัสในดิน
          ฟอสฟอรัส (P) ที่อยู่ในสารละลายดินเท่านั้นที่พืชสามารถดูดใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการที่ความ เข้มข้นของฟอสฟอรัส ในสารละลายดินมีค่อนข้างต่ำมาก สำหรับการชดเชยที่มาจากการละลายของ  ฟอสฟอรัสอาจจะไม่พอเพียง สำหรับวิธีการชดเชยที่จะทำให้ฟอสฟอรัส ในสารละลายดินมีเพียงพอถือว่าเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อน เพราะ ฟอสฟอรัส พร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยากับองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่ในดินแล้วเกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ฟอสฟอรัสมี ปริมาณต่ำและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
          ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืช ปุ๋ยฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสียความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป

แหล่งที่มาของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมาจากสลายตัวของหินแร่ในดิน
ที่มาภาพ : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/phos.htm

          พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็น ใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น

ฟอสฟอรัสสามารถแบ่ง 4 กลุ่ม (Categories)
          1. ฟอสฟอรัสที่ละลายอยู่ในสารละลายดิน
          2. ฟอสฟอรัสดูดยึดอยู่กับอนุภาคดิน
          3. ฟอสฟอรัสที่จับอยู่กับอินทรียวัตถุในดิน
          4. สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัส

ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
          ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็บประโยชน์ต่อพืชในดินจะอยู่ในรูปของอนุมูลฟอสเฟต 2 รูป คือ H2PO4-และ HPO4= ที่ละลายอยู่ในน้ำในดินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้มาจากขบวนการแปรสภาพ ของอินทรียวัตถุ(mineralization) และจากการละลายตัวออกมาอยู่ในน้ำในดิน (soil solution) จากสารประกอบฟอสเฟตต่าง ๆในดิน พวกดินเนื้อละเอียดมักมีฟอสฟอรัสมากกว่าดินเนื้อ หยาบ การวิเคราะห์ปริาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่ใช้สกัดดินด้วยน้ำยาชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจ เป็นด่างหรือเป็นกรดก็ได้้ ปริมาณที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยาที่สกัด ชนิดของดิน และ ชนิดของพืชด้วย
          ฟอสฟอรัสมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบของ nucleic acid ใน geneบน chromosomes และ nucleoprotien ซึึ่งจำเป็นสำหรับสร้างองค์ประกอบ ต่าง ๆของเซล การแบ่งเซล และการสืบพันธุ์ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบของสารฟอสเฟตที่ทำ หน้าที่รับช่วงถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่าง ๆของระบบต่าง ๆเช่น การสังเคราะห์แสงและ การหายใจของพืช เป็นต้น ดังนั้นในกรณีที่พืชขาดฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง พบว่าพืชมีการ เจริญเติบโตจำกัด ต้นเล็ก ดอกเล็ก ออกดอกช้ากว่าปกติ และเปอร์เซนต์ของดอกที่ติดผลต่ำ รากผอมบาง ลำต้นไม่แข็งแรง

ขอบคุณที่มา
    http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/phos.htm
    http://www3.rid.go.th/research/vijai_rid/ss/soilqc.html

<< Go Back