<< Go Back

ปรอท

ทองคำ   แทลเลียม

ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม ปรอท, Hg, 80
อนุกรมเคมี โลหะทรานซิชัน
หมู่, คาบ, บล็อก 12, 6, d
ลักษณะ

สีเงินยวง

มวลอะตอม 200.59 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d10 6s2
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 18, 2
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของเหลว
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) (ของเหลว) 13.534 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 234.32 K
(-38.83 °C)
จุดเดือด 629.88 K(356.73 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 2.29 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 59.11 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 27.983 J/(mol·K)
ความดันไอ
P/Pa 1 10 100 1k 10k 100k
ที่ T K 315 350 393 449 523 629
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก rhombohedral
สถานะออกซิเดชัน 2, 1 (ออกไซด์เป็นเบสปานกลาง)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.00 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 1007.1 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1810 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 3300 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 50 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 171 pm
รัศมีโควาเลนต์ 149 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 155 pm
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP
194Hg syn 444 y ε 0.040 194Au
195Hg syn 9.9h ε 1.510 195Au
196Hg 0.15% Hg เสถียร โดยมี 116 นิวตรอน
197Hg syn 64.14 h ε 0.600 197Au
198Hg 9.97% Hg เสถียร โดยมี 118 นิวตรอน
199Hg 16.87% Hg เสถียร โดยมี 119 นิวตรอน
200Hg 23.1% Hg เสถียร โดยมี 120 นิวตรอน
201Hg 13.18% Hg เสถียร โดยมี 121 นิวตรอน
202Hg 29.86% Hg เสถียร โดยมี 122 นิวตรอน
203Hg syn 46.612 d β- 0.492 203Tl
204Hg 6.87% Hg เสถียร โดยมี 124 นิวตรอน

ปรอท (อังกฤษ: Mercury; ละติน: HYDRAGYRUM) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้
ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้นก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้น

 

 

https://th.wikipedia.org/wiki/ปรอท

 

<< Go Back