<< Go Back
           ไตเป็นอวัยวะสำคัญชนิดหนึ่งในระบบขับถ่าย โดยไตมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง มีขนาดเท่ากำปั้น ในคนปกติจะมีไตอยู่ 2 ข้าง คือข้างขวา และข้างซ้าย อยู่ทางด้านหลังของท้องและด้านหลังของไขสัน หลังบริเวณเหนือเอว
            ในแต่ละวันเส้นโลหิตแดงเลี้ยงไต จะนำเอาสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ ได้แก่ น้ำ เกลือแร่ยูเรีย และกรดยู- ริค มาให้ไตสกัดออก ซึ่งของเสียเหล่านี้จะไหลซึมเข้าสู่กรวยไตไปตามหลอดไต แล้วไปเก็บไว้ใน กระเพาะปัสสาวะรอที่จะขับออกทางปัสสาวะต่อไป สำหรับโลหิตที่ถ่ายของเสียให้ไตแล้วก็จะไหลวนกลับออก จากไตทางเส้นโลหิตดำใหญ่
            การขับของเสียออกจากไตเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าไตพิการหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ร่างกายจะมีของเสียจำนวนมาก แล้วไม่สามารถดูดอาหารและออกซิเจนจากโลหิตได้ โดยเริ่มต้นจะมีเกลือแร่ สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อมากขึ้น น้ำในร่างกายก็จะซึมสู่เนื้อเยื่อมากขึ้นด้วย จนทำให้เกิดการบวม และตายในที่สุด


ไต
ที่มาภาพ : http://www.xn--c3c1abg2bzfra2b1d2dg.com/เรื่องไต-ปู่เซิน

โครงสร้างของไต
            ไตจะมีหลอดไต (Kidney tubule) รวมกันอยู่แน่นที่สุด รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ถ้าผ่าไตตามยาวจะเห็นข้างในกลวง ส่วนที่เป็นผนังของช่อวงกลวงคือ เนื้อไต ช่องในไตมีรูปร่างเหมือนกรวย จึงเรียกว่ากรวยไต (renal pelvis) ส่วนที่เป็นก้นกรวยต่อกับก้านกรวย คือท่อปัสสาวะ ส่วนเนื้อไตมี 2 ชั้น คือ
            - Renal cortex เป็นเนื้อชั้นนอกเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการกรองน้ำปัสสาวะ ออกจากเลือด
            - Renal medulla ประกอบด้วยหลอดเล็กๆ ต่อจากส่วนที่เกี่ยวกับการกรองในcortex เห็นเป็นเส้นๆ รวมกันอยู่เป็นหมู่ๆ รวมกันเป็นกรวยไตดังนั้นน้ำปัสสาวะที่ กรองจาก cortex แล้วมาตามหลอดเล็กๆ ก็จะมารวมกันที่ papilla ไปยังท่อปัสสาวะ และไปพักในกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ตามลำดับ


ไต
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/somsak_b/organ/organ2p1-3.html

หน้าที่ของไต
            1.ขับถ่ายของเสีย ซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึมของร่างกาย เช่น ยูเรีย (urea) จากโปรตีน กรด ยูริกจากกรดิวคลีอิก ครีเอทินีน (creatinine) จากครีเอทีน (creatine) ในกล้ามเนื้อ
            2. เกิดสารบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กลูโคส โดยการดูดกลับในขณะอดอาหาร ไตสามารถสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนหรือสารอื่นได้ช่วยสร้างน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้มากถึงร้อยละ 20 ของจำนวนน้ำตาลที่สร้างจากตับ
            3. ควบคุมสมดุลน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ของร่างกายให้อยู่ในลักษณะที่พอเหมาะ โดยการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไตทำให้น้ำปัสสาวะเข้มข้นขึ้นควบคุมการขับถ่ายไอออนต่างๆออกทางน้ำปัสสาวะ เช่น Na+ , K+ เป็นต้น ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
            4. ควบคุมความเป็นกรดเบสของของเหลวในร่างกายโดยการขับไฮโดรเจนไอออน (H+) เข้าสู่ท่อหน่วยไตและดูดไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน กลับเข้าสู่เลือด
            5. สร้างสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ฮอร์โมนอิรีโทรเจนีน (erthrogenin) ซึ่งรวมตัวกับโปรตีนโกลบูลินเป็นฮอร์โมนอิรีโทรพอยอิติน (erythropoietin) กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ไตยังสร้างฮอร์โมนเรนิน(renin) ซึ่งมีผลในการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) ของต่อมหมวกไตส่วนนอก เพื่อควบคุมการดูดกลับของโซเดียมไอออนที่ท่อหน่วยไตด้วย
           6. ขับถ่ายสารแปลกปลอมที่ร่างกายรับมา เช่น ยารักษาโรค สารเคมีในอาหาร

     

<< Go Back