<< Go Back

หน่วยไต (nephron)

            หน่วยไต (nephron) เป็นโครงสร้างพื้นฐานและหน่วยทำงานพื้นฐานของไต มีหน้าที่หลักคือควบคุมสมดุลของสารน้ำและสารต่างๆ ในร่างกาย เช่นโซเดียม ผ่านการกรองเลือดที่ผ่านหน่วยไต ดูดกลับสารที่ต้องการ และขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งผ่านทางปัสสาวะ หน้าที่ของหน่วยไตนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อผ่านทางฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ อัลโดสเตอโรน และพาราไทรอยด์ เป็นต้น

หน้าที่การทำงานของหน่วยไต

            หน่วยไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และกำจัดออกเป็นน้ำปัสสาวะ กระบวนการเกิดน้ำปัสสาวะเกิดจาก 3 กระบวนการคือ
                1. การกรองที่โกลเมอรูลัส ( Glomerulus filtration ) เกิดจากการกรองของเสียออกที่โกลเมอรูลัส ซึ่งเป็นหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล ผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสจะยอมให้สารโมเลกุลเล็กผ่านไปได้พร้อมกับน้ำ การกรองผ่านโกลเมอรูลัสเกิดจากแรงดันเลือดดันของเหลวจากหลอดเลือดฝอยผ่านเยื่อบุผิวของโบว์แมนส์แคปซูล เข้าสู่ช่องว่าง ( lumen) ของโบว์แมนส์แคปซูล และเข้าสู่ท่อของหน่วยไต
                การกรองสารจะเกิดขึ้นผ่านเยื่อบุ 3 ชั้น คือ
                                 ก. ผนังของหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส ( endothelial cell of capillary )  ซึ่งมีรูขนาด 60  100 นาโนเมตร จึงป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดผ่านไปและยอมให้สารขนาดเล็กผ่านไปโดยการแพร่
                                ข. ชั้นเบสเมนต์เมมเบรน ( basement membrane ) ของโกลเมอรูลัสหรือเรียกว่า ลามินาเดนซา ( lamina densa ) หรือเบซิลลามินา ( basal lamina ) เป็นตัวกรองสารโปรตีนขนาดใหญ่ไว้ จึงช่วยจำกัดผ่านของโปรตีนขนาดใหญ่
                                ค. เยื่อบุผนังของโบว์แมนส์แคปซูล ( epithelial cell of Bowman s capsule ) ซึ่งมีเซลล์พิเศษ คือ โพโดไซต์ ( podocyte ) ช่วยเลือกสารที่จะกรองผ่าน
                ทั้งผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส และเซลล์ที่เยื่อบุผนังโบว์แมนส์แคปซูล จะประกอบกันเป็น เยื่อกรอง (filtration membrane ) เซลล์โพโดไซต์ ซึ่งประกอบกันเป็นเยื่อบุโบว์แมนส์แคปซูล ซึ่งสัมผัสกับหลอดเลือดฝอยนั้นมีการแตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมากคล้ายนิ้วมือ อาจเรียกว่า ฟูตโพรเซส ( food processes ) หรือเพดิเซล ( 
pedicel ) เพดิเซลจะปกคลุมอยู่ที่ผิวหลอดเลือดฝอยส่วนใหญ่ ช่องระหว่างฟูตโพรเซสเป็นช่องเล็ก ๆ เรียกว่า ฟิลเตรชันสลิต ( filtration slits ) หรือ ช่องสลิต ( slit pore ) จึงเป็นตัวกรองของเหลวออกจากเลือด

                    2. การดูดกลับที่ท่อของหน่วยไต ( Tubular reabsorption ) ของเหลวที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสวันละ 180 ลิตร ถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือดถึง 99 % เหลือเป็นน้ำปัสสาวะทิ้งไปวันละ 1.5 ลิตร
                เซลล์เยื่อบุผิวที่ท่อของหน่วยไต มีบทบาทในการดูดสารกลับ เนื่องจาก มีไมโครวิลไล         ( microvilli ) จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม และยังมีไมโทคอนเดรียมากเพื่อให้พลังงานในการดูดกลับแบบแอกทีฟ ทรานสปอร์ต               
ที่พรอกซิมอลทิวบูล มีการดูดกลับมากที่สุด ประมาณ 65 % ของของเหลวที่กรองได้

                การดูดกลับที่พรอกซิมอลทิวบูล ได้แก่ สารอาหารพวกกลูโคส กรดอะมิโน และวิตามิน และดูดกลับ NaCl ทั้งสารอาหารและ NaCl ถูกดูดกลับแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต ส่วนน้ำ K+ และ HCO-3   ดูดกลับแบบพาสซีฟทรานสปอร์ต
                การดูดกลับที่ห่วงเฮนเลส่วนวกลง ( descending limp of loop of henle ) ดูดน้ำกลับโดยวิธีออสโมซิส
                การดูดกลับที่ห่วงเฮนเลนส่วนวกขึ้น (ascending limp of loop of henle ) ดูดกลับ NaCl  ทั้งแบบพาสซีฟทรานสปอร์ต และแอกทีฟทรานสปอร์ต
                การดูดกลับที่ดิสตอลทิวบูล มีการดูดกลับน้ำ แบบพาสซีฟทรานสปอร์ต โดยการแพร่ ส่วน NaCl  และ HCO- 3   ดูดกลับแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต การดูดกลับที่ท่อรวม มีการดูดกลับน้ำโดยออสโมซิส และยอมให้นำยูเรียผ่านออกโดยการแพร่

การดูดสานบางอย่างกลับเข้ากระแสเลือด ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนได้แก่ ฮอร์โมนแอลโดล

    เตอรโรน ( aldosterone )  ซึ่งหลั่งจากชั้นคอร์แทกซ์ของต่อมหมวกไต ฮอร์โมนนี้ไปกระตุ้นดิสตอลทิวบูล และท่อรวม ให้เพิ่มการดูดน้ำและ Na+ กลับคืนเลือดมากขึ้น ทำให้ปริมาตรเลือดและความดันเลือดเพิ่มขึ้น

    การหลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน ถูกกระตุ้นจากความดันเลือดลดลง เมื่อความดันเลือดลดลง เซลล์ของจักซ์ตา                    

    โกลเมอรูลาร์คอมเพล็กซ์ ( Juxtaglomerular complex ) (ซึ่งอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงอาฟเฟอเรนต์อาร์เทอริโอล ที่นำเลือดเข้ามายังโกลเมอรูลัส มาสัมผัสกับดิสตอลทิวบูล) จะหลั่งเอนไซม์ เรนิน ( renin ) ออกมากระตุ้นการเปลี่ยนพลาสมาโปรตีน คือ แองจิโอเทนซิโนเจน ( angiotensinogen ) ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II angiotensin II ) แล้วแองจิโอเทนซิน II จึงไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน

                     3. การหลั่งสารที่ท่อของหน่วยไต ( Tubular secretion ) มีสารบางชนิดที่หลั่ง ( secrete ) จากเลือดเข้าสู่ฟิลเตรต หรือของเหลวที่กรองได้ในทิวบูล
             ที่พรอกซิมอลทิวบูล มีการหลั่งสารได้แก่  H+ , K+ , NH4
             การหลั่ง H+ เพื่อรักษาระดับ  pH ในของเหลวในร่างกายให้คงที่
             การหลั่ง K+ เกิดเมื่อความเข้มข้นของ K+ สูงเกินไป เพราะจะทำให้การส่งกระแส
             ประสาทบกพร่อง และความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง
             ที่ดิสตอลทิวบูล มีการหลั่งสาร ได้แก่ H+ ยาบางชนิด เช่น เพนิซิลลิน  และยาพิษ
             การหลั่ง K+ เพื่อควบคุมระดับความเข้มข้นของ K+ และ Na+ ในร่างกาย โดยแปรผันการหลั่งK+ และการดูดกลับ  Na+
             การหลั่ง H+ เพื่อควบคุม pH  ในเลือด โดยควบคุมการหลั่ง H+ และ การดูดกลับ  HCO-3

ส่วนประกอบของหน่วยไต
    หน่วยไตประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
            1. โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman's capsule) อยู่ในเนื้อไตชั้นนอก เป็นส่วนที่มีลักษณะคล้ายถ้วยมีผนังบางๆ2 ชั้น ภายในมีกระจุกเส้นเลือดฝอยโกลเมอรูลัส
            2. โกลเมอรูลัส(glomerulus) เ ป็นกระจุกเส้นเลือดฝอยต่อจากเส้นเลือดแดงที่เข้าไต(renal artery) อยู่ภายในโบว์แมนส์แคปซูล

            3. ท่อของหน่วยไต (convoluted tubule) แบ่งเป็น
                   • 3.1 ท่อขดส่วนต้น(proximal convoluted tubule)
                   • 3.2 ห่วงเฮนเล(loop of Henle)                  
                   • 3.3 ท่อขดส่วนท้าย (distal convoluted tubule) ซึ่งปลายท่อขด ส่วนท้ายจะเปิดร่วมกันที่ท่อรวม(collecting tubule)



ส่วนที่เป็นกรบกลมๆทั้งหมดเราจะเรียกรวมว่า Bowman's capsule ส่วยเส้นเลือดสีแดงๆที่ขดอยู่นั่นก็คือ glomerulusนั่นเอง
ที่มาภาพ : http://tewtuch.exteen.com/page-3

ขอบคุณที่มา
      http://tewtuch.exteen.com/page-3
      https://sites.google.com/site/bodybalanceu/hnathi-kar-thangan-khxng-hnwy-ti
      http://th.wikipedia.org/wiki/หน่วยไต          

<< Go Back