<< Go Back

ต่อมไทมัส (thymus gland)

             ต่อมไทมัส (Thymus gland) เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่ในทรวงอกส่วนบน ระหว่างกระดูกอกกับหลอดเลือดใหญ่ อาจยื่นต่ำลงไปอยู่หน้าเยื่อหุ้มหัว ในเด็กเกิดใหม่มีขนาดโตกว่าในผู้ใหญ่มาก ต่อมไทมัสเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่ง ของระยะการเติบโตของชีวิต ๒-๓ ปีหลังเกิดอัตราการเจริญเติบโตลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังเจริญต่อไปจนถึงระยะวัยรุ่น ต่อจากนั้นไปก็จะค่อยๆ ฝ่อเล็กลง ในช่วงการเจริญเติบโต ต่อมไทมัสมีสีชมพู ประกอบด้วย ๒ กลีบ รูปคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง และขนาดอาจไม่เท่ากันกลีบทั้งสองของต่อมยึดกันไว้ด้วยพังผืดหลวมๆ ต่อมไทมัส นุ่ม ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุในเด็กจะมีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมกว้าง ในผู้ใหญ่จะหดสั้น แต่ค่อนข้างแบน น้ำหนักประมาณ ๑๓ กรัมเมื่อเกิด ๓๗ กรัมในระยะหนุ่มสาว และ ๑๐ กรัม ในคนชรา ต่อมไทมัสจะเจริญเต็มที่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดาและมีขนาดใหญ่มากเมื่อยังมีอายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของต่อมไทมัสจะเล็กลงและฝ่อไปในที่สุด

ที่มาภาพ : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter6/thymus_gland.htm


             ถึงแม้ว่าบทบาทของต่อมไทมัส ในระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา จะมีน้อยในผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ต่อมไทมัสจะ ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะมันอาจมีหน้าที่อีกหลายอย่างที่ เราไม่ทราบ เราจึงไม่สามารถตัดต่อมไทมัสทิ้งไปได้ ข้อมูลทางการแพทย์แผนโบราณของประเทศจีน ถือว่า ร่างกายของคนเรานั้น ถูกควบคุมด้วย 2 สิ่ง คือ สมองและต่อมไทมัส หรือต่อมอก โดยสมองเป็นส่วนที่สั่งงานให้อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหว ในขณะที่ต่อมไทมัส จะมีหน้าที่ในการควบคุม การทำงาน ของของเหลวในร่างกาย ด้วยเหตุนี้ แพทย์แผนจีน จึงให้ความสำคัญกับต่อมอก นี้เป็นอย่างยิ่ง

อวัยวะเป้าหมาย : เนื้อเยื่อต่อมไทมัส

หน้าที่ : กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็น เซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และพัฒนา T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ออกเป็น 3 ชนิดที่มีหน้าที่การทำงานต่างกันไป ชนิดแรก มีหน้าที่จดจำและตอบสนอง เพื่อระบุชนิดของแอนติเจนที่พบในร่างกาย แล้วกระตุ้นการทำงาน ของ B-cell ให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคให้หมดฤทธิ์ไป ชนิดที่สอง มีหน้าที่ยับยั้งการทำลายเซลล์ร่างกายของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่สามมีหน้าที่กำจัดเซลล์ ร่างกายที่ติดเชื้อ

ที่มาภาพ : http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Hormone/Hormone/html/Website-endocrine-system/thymus.htm

             ไทโมซิน (Thymosin)

             เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกัน เป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น

             หน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (Lymphocyte หรือ T-cell) ที่ยังอ่อนอยู่ (Immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (Mature lymphocyte) ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (Cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาภูมิแพ้ และการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ต่อมไทมัสจะไวต่อการติดเชื้อ รังสี การเจ็บป่วยมาก พบว่าถ้ามีการติดเชื้อนานๆ เมื่อหายแล้วต่อมไทมัสจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย

ขอบคุณที่มา
http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Hormone/Hormone/html/Website-endocrine-system/thymus.htm
http://endocrinesystem409.blogspot.com/2012/06/blog-post_4515.html

<< Go Back