<< Go Back

การปกครองในสมัยสุโขทัยจะมีลักษณะเป็นการกระจายอำนาจการบริหารจากราชธานีออกไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งหัวเมืองในอาณาจักรสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ในแต่ละชั้นกษัตริย์ทรงใช้อำนาจการปกครอง ดังนี้

ที่มารูปภาพ : https://sites.google.com/site/social00083/hawkhx-yxy1

1. เมืองหลวง (ราชธานี) อาณาจักรสุโขทัย มีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงรับผิดชอบดูแลทั้งในด้านการปกครอง ด้านการศาสนา และด้านศิลปวัฒนธรรม โดยมีบรรดาขุนนางข้าราชการคอยช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ
2. เมืองลูกหลวง (หัวเมืองชั้นใน) เป็นเมืองหน้าด่านาตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (พิจิตรเก่า)
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม (ปากคลองสวนหมาก หน้าเมืองกำแพงเพชร)
เมืองลูกหลวงเหล่านี้ กษัตริย์จะทรงแต่งตั้งพระราชโอรส หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไปปกครองดูแล โดยรับนโยบายจากเมืองหลวง
3. เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก) เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงออกไป พระมหาษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นสูงหรือผู้ที่มีความสามารถไปปกครองดูแล เมืองพระยามหานครในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีหลายเมือง เช่น เมืองพระบาง เมืองเชียงทอง เมืองบางพาน เมืองบางฉลัง เป็นต้น
เมืองเหล่านี้มีลักษณะการปกครองเหมือนกับหัวเมืองชั้นใน
4. เมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองชายแดนที่อยู่นอกราชอาณาจักร จะทรงให้ชาวพื้นเมืองเป็นเจ้าเมืองปกครองเอง พระองค์จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็น
ในยามศึกสงครามหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารไปช่วย แต่ในยามที่ไม่มีศึกจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กับอาณาจักรสุโขทัย
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีเมืองประเทศราช ดังนี้ ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเซ่า (หลวงพระบาง) เมืองเวียงจันทน์ ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทวาย เมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ


http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1630

<< Go Back