<< Go Back

ธนาคารพาณิชย์คือ         
           คือ ธุรกิจที่แสวงหากำไร ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปโดยจะไม่มีการผลิตสินค้าและบริการ แต่จะหากำไรโดยการเสนอหรือการให้สินเชื่อ ดังนั้นทรัพย์สินส่วนใหญ่ของะธนาคารพาณิชย์นั้นคือเงินที่ทวงถามจากผู้อื่น โดยธนาคารพาณิชย์มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากธนาคารอื่นคือ มีบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือ เงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถาม
กำเนิดและวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์
           สมัยโบราณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล สมัยอาณาจักบาบิโลน มีการกำเนิดมาจากวัด กิจกรรมธนาคารเกิดขึ้นในวัดโดยมีนักบวชเป็นผู้ทำหน้าที่นายธนาคาร ให้แลกเปลี่ยน เช่า กู้ยืมของ เนื่องจากวัดเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ธนาคารรูปแบบนี้ได้แผ่ขยายไปยังตะวันออกกลาง กรีก โรมัน และรอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาในศตวรรษที่3และ4ก่อนคริสตศักราชระบบธนาคารในกรีกมีความปลอดภัยมากขึ้นโดย นักบวชมีการเรียกเก็บเงิน และมีการให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย
          สมัยกลาง (ค.ศ. 400-1400) สมัยนี้ธุรกิจธนาคารรุ่งเรื่องมาก สามารถโอนเงินข้ามเมืองได้ ทำให้นักบวชมีอำนาจมาก ต่อมาอำนาจได้ตกเป็นของพวกขุนนาง เอกชนชาวยิว(ขูดรูดมาก) และ พวกลอมบาร์ด ตามลำดับ
          สมัยใหม่ (ค.ศ.1400 เป็นต้นมา) เป็นยุคที่ทวีปยุโรปเฟื่องฟูมากทำให้มีธนาคารเกิดขึ้นหลายแห่งแต่ไม่มีธนาคารใด เป็นธนาคารพาณิชย์เลยจนกระทั่ง พวงชั่งทองในประเทศอังกฤษรับฝากทองโดยมีใบยอมรับฝากโลหะมีค่าให้  ซึ่งจะเบิกทองออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ และ สามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ต่อมา พ่อค้าสามารถชำระหนี้ ด้วยการเขียนคำสั่งให้ช่างทองจ่ายโลหะมีค่าแก่บุคคลอื่น ที่ระบุชื่อไว้โดยไม่สียเวลาเบิกโลหะมีค่าด้วยตนเอง ซึ่งคำสั่งดังกล่าวคือ เช็ค
          ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าธนาคารพาณิชย์สมัยใหม่วิวัฒนาการมาจากช่างทองในประเทศอังกฤษนั่นเอง
ความหมายของธนาคารพาณิชย์
          ตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา4 ได้ให้ความหมานของธนาคารพาณิชย์ไว้ว่า ธนาคารพาณิชย์ คือ ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น
          1. การให้กู้ยืม
          2. ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงินหรือตราสารอื่นใด 3.ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ
ลักษณะสำคัญของธนาคารพาณิชย์
          1. ธนาคารที่เป็นส่อกลางทางการเงินโดยระดมทุนจากประชาชนในรูปเงินฝาก จากนั้นก็นำเงินไปลงทุนต่ออีกทีหนึ่ง
          2. ธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
          3. เป็นสถาบันทางการเงินเดียวที่สร้างเงินในรูปของเงินฝากได้
          4. เป็นแหล่งกู้ยืมเงินระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง
หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
           1. การให้บริการทางการเงิน
           2. การสร้างและการำลายเงินฝาก
                      1. การให้บริการทางการเงิน
           ก.การรับฝากเงิน เป็นการระดมเงินทุนของธนาคารซึ่งมี 3 ประเภทคือ
                      1.เงินฝากกระแสรายวัน
                      2.เงินฝากประจำ
                                 3. เงินฝากออมทรัพย์ เนื่องจากการรับฝากเงินเป็นการระดมเงินของธนาคารไปแสวงหากำไรธนาคาร จึงให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ที่นำเงินมาฝากด้วย
           ข. การให้กู้ยืม การให้กู้ยืมเงินหรือการให้สินเชื่อทางการค้าพาณิชย์ หรือทางด้านอื่นๆ เช่นการบริโภค การอุตสาหกรรม การเกษตร เป็นต้น ทำได้ 3 วิธีคือ
                      1. การให้กู้ยืมโดยตรง
                      2. การเบิกเงินเกินบัญชี
                      3. การรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน
           ค. การให้บริการอื่นๆ
                      1.ให้บริการในด้านการเป็นตัวแทนลูกค้า เช่น การซื้อขายหุ้นในนามลูกค้า
                      2. ให้บริการด้านการค้าและชำระเงินระหว่างประเทศ
                      3. บริการด้านอื่นๆที่ให้ความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น การรับฝากของมีค่า
           2. การสร้างและการทำลายเงินฝาก
                      การสร้างเงินฝากถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่ไม่เหมือนใครในระบบการเงินเพราะธนาคารพาณิชย์ เพราะ ธนาคารพาณิชย์คือสถาบันเดียวที่สามารถสร้างเงินในรูปการฝากแบบกระแสรายวันได้ โดยการนำเงินทุน ในส่วนที่เป็นเงินสดสำรองที่ดำรงไว้ตามกฎหมายให้ลูกค้ากู้ยืม หรือนำไปลงทุนให้จำนวนเงินเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม การทำลายเงินฝากของธนาคาร  โดยการชำระนี้ของผู้กู้ยืมหรือการนำหลักทรัพย์ที่ลงทุนไว้ออกขายทำให้จำนวนเงินลดลง
           การสร้างและการการทำลายเงินฝากมีผลให้ปริมาณเงินในระบบเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดเงินเฟ้อ ถ้าน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเงินฝืดดังนั้นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องมีจิตสำนึกในการดำเดินการเพื่อรักษาไว้ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศ
ระบบธนาคารพาณิชย์
           1. ระบบธนาคารเดี่ยว คือ ธนาคารที่ไม่ขึ้นกับธนาคารใดมีเพียงสาขาเดียว และ ไม่มีธนาคารใดขึ้นต่อ
           2. ระบบธนาคารสาขา คือ ธนาคารที่มีหลายสาขากระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละสาขาจะขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่
           3. ระบบธนาคารลูกโซ่ คือ ธนาคารที่เกิดจากการร่วมตัวกันของธนาคารอิสระสองแห่งโดยแต่ละแห่งมีผู้บริหารบริษัทคนละชุดกัน แต่ไม่ได้ตั้งเป็นบริษัทจำกัด และทำโดยการซื้อหุ้นของอีกธนาคารจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
           4. ระบบธนาคารกลุ่ม มีลักษณะคล้ายกับระบบธนาคารลูกโซ่แต่ต่างกันที่ มีการบริการโดยบริษัทถือหุ้น

 


        https://sites.google.com/site/suwachatchootong44931/

<< Go Back