<< Go Back

กระแสน้ำในมหาสมุทร
           กระแสน้ำในมหาสมุทร คือ การเคลื่อนที่ของน้ำในมหาสมุทรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะไหลอยู่ตลอดเวลา และไหลเวียนไปทั่วโลกอย่างช้าๆ ในทิศทางเดียวกัน
           การที่โลกของเรานั้นเป็นทรงกลมจึงทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรมีความแตกต่างกัน พลังงานจากดวงอาทิตย์จะตกกระทบบริเวณเส้นศูนย์สูตร มากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้น้ำบริเวณนั้น มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงเบาและลอยตัวขึ้น ( เกิดเป็น กระแสน้ำอุ่น ) ในขณะที่น้ำบริเวณขั้วโลกจะได้รับความร้อนน้อยมาก ทำให้น้ำบริเวณขั้วโลกมีอุณหภูมิต่ำ จะเย็นและจมตัวลง ( เกิดเป็น กระแสน้ำเย็น ) โดย น้ำที่ลอยตัวขึ้น ก็จะไหลไปแทนที่น้ำที่เย็นตัวลง ส่วนน้ำที่เย็นจมตัวลง ก็จะไหลลงในระดับลึก และมาแทนที่น้ำที่ลอยตัวขึ้น
การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร
            วงจรการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร เรียกว่า แถบสายพานยักษ์ (Great Ocean Conveyer Belt) ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงวงจรการไหลเวียนหลักของกระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสร้อนจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไหลไปยังบริเวณขั้วโลก และกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลกกลับมาแทนที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสายพานนี้จะได้รับกำลังจากอุณหภูมิ และความเค็มของน้ำที่มีความแตกต่างกันในมหาสมุทร
การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร เกิดจาก
           1. ลมประจำฤดูและลมประจำถิ่นที่กระทำต่อผิวน้ำในมหาสมุทร โดยการหมุนเวียนของกระแสน้ำจะเบี่ยงเบนไป เช่นเดียวกับการเบี่ยงเบนของลม คือ มีทิศทางการเคลื่อนที่ทำมุม 45 องศา กับทิศทางลม
           2. ความหนาแน่นและอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่แตกต่างกัน คือ น้ำที่เย็นและเค็มมาก จะมีความหนาแน่นมาก
           3. การลดระดับและเพิ่มระดับของน้ำในมหาสมุทร
           4. ระดับน้ำในมหาสมุทรในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
           5. การเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิดใต้มหาสมุทร
           น้ำที่มีอุณหภูมต่ำในเขตขั้วโลกจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำที่มีอุณหภูมิสูง ในเขตทรอปิก ดังนั้นน้ำจากขั้วโลก จะไหลลงมายังบริเวณเขตศูนย์สูตร ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าและจะเคลื่อนที่ออกไป ทำให้เกิดการไหลเวียนของกระแสน้ำ
           กระแสน้ำที่เริ่มจากศูนย์สูตรเรียกว่า กระแสน้ำศูนย์สูตร จะเคลื่อนที่ไปตามแรงของลมสินค้า เมื่อไปพบชายฝั่งตะวันตก จะถูกผลักดันให้ขึ้นไปทางเหนือจนไปพบแนวลมฝ่ายตะวันตก จึงเคลื่อนที่ข้ามมหาสุมรจนกระทั่งพบชายฝั่งจะถูกผลักดันเลาะชายฝั่ง มาบรรจบกับกระแสน้ำที่เส้นศูนย์สูตรตามเดิม
           กระแสน้ำที่ออกจากศูนย์สูตรจะเป็นกระแสน้ำอุ่น แต่เมื่อออกจากชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีป อุณหภูมิของน้ำจะต่ำ จึงกลายเป็นกระแสน้ำเย็นลงมาทางละติจูดต่ำ
อิทธิพลของกระแสน้ำในมหาสมุทร
           1. กระแสน้ำในมหาสมุทรมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิบนพื้นโลก โดยกระแสน้ำจะช่วยในการถ่ายเทความร้อน จากละติจูดต่ำไปสู่ละติจูดกลาง และละติจูดสูง กระแสน้ำอุ่น ช่วยเพิ่มระดับอุณหภูมิบริเวณชายฝั่งในเขตละติจูดสูงให้สูงขึ้น เช่น ทำให้ชายฝั่งประเทศสหราชอาณาจักรมีอุณหภูมิไม่ลดลงต่ำมาก กระแสน้ำเย็น ช่วยลดระดับอุณหภูมิบริเวณชายฝั่งในเขตละติจูดต่ำให้เย็นลง เช่น ทำให้บริเวณช่ายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีอุณหภูมิไม่สูง มากนัก ทั้งๆที่เป็นฤดูร้อน เป็นต้น
           2. กระแสน้ำต่างชนิดกัน ถึงแม้ว้าจะไหลผ่านในละติจูดเดียวกัน อาจก่อให้เกิดภูมิอากาศที่แตกต่างกัน เช่น ในทวีปแอฟริกา มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านทางด้านตะวันตกของทวีป ส่งผลให้มีภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮาลี ในประเทศนามิเบีย ส่วนทางด้านตะวันออกของทวีป มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ส่งผลให้มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมีความชุ่มชื้นมากกว่าด้านตะวันตกของทวีป เป็นต้น
           3. บริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำอุ่นไหลมาปะทะกัน จะมีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งปลาชุกชุม มีประโยชน์ทางด้านการประมง เช่น บริเวณคูริลแบงส์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกุฏรชิโวและกระแสน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลมาปะทะกัน เป็นต้น

 


       http://www.l3nr.org/posts/518196

<< Go Back