<< Go Back

ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์

ดินแห้งแล้ง

ที่มา : http://freephoto.in.th/wp-content/uploads/2012/11/121550_0072.jpg

               การอนุรักษ์และพัฒนาที่ดิน  มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ให้ดินอยู่ในสภาพที่จะใช้ปลูกพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้   ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งโดยมนุษย์ได้อาศัยพื้นดินในการทำประโยชน์ด้านการเกษตร  การป่าไม้  และการปศุสัตว์  การเกิดดินโดยกระบวนการตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลานาน  ประกอบกับเนื้อดินบางส่วนถูกชะล้างพังทลายอยู่ตลอดเวลา   ดังนั้นมนุษย์จึงต้องทำการอนุรักษ์   และพัฒนาที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป  โดยการใช้ดินอย่างถูกวิธี  และมีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน  จะทำให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นดินได้อย่างยาวนานต่อไป

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  ได้แก่
               1  การถากถางพืชที่ปกคลุมหน้าดินจนเตียน  ทำให้น้ำฝนชะเอาผิวหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไหลไปด้วย  
               2.  การเผาพืช หรือหญ้าที่ขึ้นในไร่นา  ทำให้แร่ธาตุและจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินซึ่งมีประโยชน์ต่อพืชถูกทำลายไป
               3.  การทำไร่ – สวนบนเนินที่มีความลาดเอียงมาก  โดยการไถพื้นดินให้เป็นร่องจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำจะทำให้น้ำฝนชะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย
               4.  การปลูกพืชชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน  ทำให้แร่ธาตุในดินบางชนิดหมดไป  ผลผลิตของพืชจึงลดลง   
               5  การขาดความรู้เรื่องวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง  โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีถ้าใช้ไปในปริมาณมากเกินความต้องการของพืชจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลง

การสงวนและพัฒนาดินเพื่อให้มีคุณภาพดีมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป  สามารถกระทำได้โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้                
               1. การปลูกพืชคลุมดิน  เป็นการป้องกันการชะของน้ำฝนพาเอาหน้าดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปที่อื่น 
พืชที่ปลูกคลุมดินควรเป็นพืชที่แผ่กิ่งก้านและใบไปตามผิวดินได้ดี  และราตื้นพืชคลุมดินจะช่วยลดอัตราการชะล้าง
พังทลาย   ของหน้าดินได้ดี

               2. การใช้วัสดุธรรมชาติคลุมดิน  ในช่วงเวลาที่หยุดพักการปลูกพืชไม่ควรปล่อยให้ดินว่างเปล่าควรหา
วัสดุมาคลุมดินไว้  วัสดุที่เหมาะสำหรับคลุมดินคือ  หญ้าและฟาง  นอกจากจะเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน แล้วดินยังช่วยรักษาความชื้นของดินและยังสลายกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอีกด้วย

               3.การปลูกพืชหมุนเวียน  เป็นการปลูกพืชสลับชนิดกันในพืชที่เดียวกัน  เช่น  การปลูกถั่วสลับกับพืชที่เราต้องการผลผลิต  ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันพังทลายของดินแล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้และยังช่วยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วย
               4.การปลูกพืชแซม   เป้นการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตในพืชที่ว่างระหว่างแถวของพืชหลักในพืชที่ที่ปลูกหลัก  เป็นการป้องกันไม่ให้พื้นที่ว่างนั้นพังทลายลงและ ป้องการเจริญชองวัชพืชได้อีกด้วย

               5. การปลุกพืชตามแนวระดับ  เป็นวิธีการไถพรวน  หว่าน  ปลูกและเกี่ยวพืชขนานไปตามแนวระดับเดียวกัน  ขวางความลาดเอียงของพืชที่  เป็นวิธีที่ช่วย      อนุรักษ์ดินที่มีลักษณะเป็นเนิน หรือไหล่เขาได้วิธีหนึ่ง

               6. การปลูกพืชแบบชั้นบันได เป็นวิธีสำหรับการอนุรักษ์ดินที่มีลักษณะเป็นเนิน  หรือไหล่เขาทำได้โดยสร้างคันดินหรือแนวหินขวาง  ความลาดเอียงของพื้นที่  แล้วปลูกบนชั้นบันได

               7. การเติมปุ๋ย  การเติมปุ๋ยจะช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ  ปุ๋ยที่ใช้อาจจะเป็นปุ๋ยเคมี  หรือปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้

               8. การปลูกป่า  ป่าไม้จะช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี  เพราะป่าไม้จะช่วยชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำซึมเข้าสู่ดินได้มากขึ้น และหน้าดินไม่พังทลาย  และยังช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล  ไม่เกิดความแห้งแล้งแก่ดิน  ไม่เกิดน้ำท่วม  ฯลฯ

ดินกรด ดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ดินเค็ม

ที่มา : http://www.kasetporpeangclub.com/forums/ถามตอบปัญหาที่ดิน-น้ำ/2064-การแก้ปัญหา-ดินเค็ม.html

               ดินเปรี้ยว และ ดินเค็ม ปัญหาของดินเสื่อมสภาพที่พบได้เกือบทั่วประเทศ ซึ่งเป็นดินที่มีสภาพกรดหรือด่างมากผิดปกติ โดยดินเปรี้ยว จะเป็นดินที่มีความเป็นกรด มีค่า pH ต่ำกว่า 7.0 จึงเรียกอีกชื่อว่า ดินกรด (Acid soil) ส่วนดินเค็ม (Saline soil) คือดินที่มีความเป็นด่าง เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป

ดินเป็นกรด

ที่มา : http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/journal/dec97/t/t4.gif

               กรดในดินส่งผลกระทบต่อธาตุอาหาร คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ลดน้อยลงจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นไม้ แต่กลับทำให้ธาตุ อาหารบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก และแมงกานีส ซึ่งเป็น อันตรายต่อพืช และส่งผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ความเป็น ประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อความ ต้องการของพืช ในขณะที่เกลือในดินเค็มจะส่งผลโดยตรงต่อพืช โดย จะทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษมาก เกินไป ทั้งนี้จึงเป็นผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ทำการเกษตรทั่วประเทศ

               ดินกรดสามารถพบได้เกือบทั่วทุก ภาคของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่ม ภาคกลาง มีพื้นที่ดินกรดมากถึง 4.9 ล้านไร่ จากพื้นที่ดินกรดทั่วประเทศ 8.2 ล้านไร่ รองลงมาคือภาคใต้ และภาค ตะวันออกเพียงเล็กน้อย ประมาณ 9 แสนไร่

               ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการเกิดดินกรด ส่วนใหญ่เกิดจากพื้นที่ที่มี การสะสมของตะกอน โดยเฉพาะตะกอนบริเวณปาก แม่น้ำ ปากอ่าว ซึ่งตะกอนส่วนใหญ่ถูกพัดมาจาก แม่น้ำ และทะเลอาจมีตะกอนของสารประกอบซัลเฟต (So42-) และเหล็ก (Fe2+) รวมอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปชั้นตะกอนมีความหนามากขึ้น บาง บริเวณมีสภาพน้ำขัง มีการทับถมกันของซากพืชที่เน่าเปื่อย จุลินทรีย์ ในดินบางพวกจะทำการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินที่ขาดออกซิเจน เหล่านี้ และทำให้ซัลไฟต์และเหล็กในชั้นดินแปรสภาพเป็น สารไพไรต์ (Pyrite)

               จากนั้นสารประกอบไพไรต์ที่อยู่ในดินจะถูกแปรสภาพอีกครั้ง จน กลายเป็น กรดซัลฟิวริก หรือ กรดกำมะถัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ เกิดดินกรด โดยดินกรดที่พบในภาคกลางมักเกิดจากการสะสมของตะกอน ปากแม่น้ำ และปากอ่าว ส่วนดินกรดในภาคใต้มักเกิดจากการสะสมของ อินทรียวัตถุในดิน เช่น ในพื้นที่ป่าพรุ

เกลือ..ต้นเหตุดินเค็ม
               การแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็ม กำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ของพื้นที่เกษตรกรรม ในปัจจุบันมีการขยายตัวครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 21.7 ล้านไร่ บนพื้นที่มากกว่า 17 จังหวัด กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้ง
องค์ประกอบของเกลือในดิน เค็ม เกิดจากการรวมตัวของธาตุที่มี ประจุ บวก เช่น โ ซ เ ดียม (Na+ ) แ ม ก นี เ ซี ย ม ( Mg2 + ) แ ค ล เ ซี ย ม (Ca2+) รวมกับธาตุที่ประจุลบ เช่น ค ล อ ไ ร ด์ ( Cl-) ซั ล เ ฟ ต ( SO42 -) ไ บ ค า ร์ บ อ เ น ต ( CO32-) แ ล ะ คาร์บอเนต (CO3-) ดินเค็มที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในรูป ของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) แต่ดินเค็มชายทะเลมักมีแมกนีเชีย มอยู่ในรูปคลอไรด์และซัลเฟตมากกว่า ส่วนดินเค็มภาคกลางมักจะพบ อยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือ คาร์บอเนตของ แมกนีเซียม แคลเซียม และโซเดียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และแมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3)

               การเกิดดินเค็มมีหลายสาเหตุ ได้แก่ การสลายตัวหรือผุพังของหิน และแร่ที่มีสารประกอบที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบ เกิดจากอิทธิพลของน้ำ ทะเล และเกิดจากใต้ดินมีชั้นของหินเกลือหรือเกลือที่อยู่ในระดับน้ำใต้ ดิน เกิดจากการใช้น้ำชลประทาน เกิดจากลมทะเลอาจพัดพาเอาเกลือ มาตกบนผืนแผ่นดินและสะสมกันนานเข้าจนมีจำนวนมากในพื้นที่นั้น และ จากการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป

ดินที่ถูกชะล้างพังทลาย

การพังทลายของดิน

ที่มา : http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=50453

สาเหตุสำคัญของการชะล้างพังทลายของดินมี  2 ประการ คือ
               การชะล้างพังทลายของดิน  เป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น   ดินบริเวณตลิ่งที่ถูกแม่น้ำลำธารกัดเซาะ   การเลื่อนไหลของดินบริเวณภูมิประเทศที่มีความลาดชัน  แผ่นดินถล่ม  การยุบตัวของดิน  เป็นต้น
             สาเหตุสำคัญของการชะล้างพังทลายของดิน   มี  2  ประการ  ดังนี้
               1. การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น  การกัดชะด้วยฝนหรือลม  เนื่องจากการขาดพืชคลุมดิน  การกัดเซาะของกระแสน้ำ  การพังของตลิ่งอันเนื่องมาจากการกัดเซาะของน้ำและแรงโน้มถ่วงของโลก  การชะล้างพังทลายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ  ความลาดเอียงของพื้นดิน  ลมฟ้าอากาศ  ลักษณะของเนื้อดิน  ดินในบริเวณพื้นที่ลาดเอียงจะถูกกัดเซาะได้เร็ว  เพราะกระแสน้ำจะมีความแรงดินในบริเวณที่มีฝนตกหนักจะถูกกัดเซาะไปได้มาก  ส่วนดินในบริเวณพื้นที่แห้งแล้งจะถูกกระแสลมพัดพาไปได้ง่าย ดินแต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกันจึงถูกชะล้างพังทลายได้ยากง่ายต่างกัน  เช่นดินทรายจะถูกพัดพาไปโดยลมได้ง่าย  เป็นต้น
               2. การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  เช่น  การระเบิดภูเขา   การสร้างถนน การตัดไม้ทำลายป่า  การทำไร่เลื่อยลอย    การทำเหมืองแร่      เป็นต้น
               ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการชะล้างพังทลายของดินไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากธรรมชาติ  หรือ จากการกระทำของมนุษย์  มีมากมาย  เช่น ดินชั้นบนซึ่งมีแร่ธาตุอยู่มากจะถูกทำลายไป ซึ่งมีผลกระทบต่อการเพาะปลูก  และอย่างเป็นเหตุทำให้อ่างเก็บน้ำตื้นเขิน  บ่อน้ำและแหล่งน้ำตื้นเขิน  เกิดความแห้งแล้งเกิดอุทกภัย  เกิดสันดอนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทาง

ดินที่ทำการเพาะปลูกมานาน

ดินเสื่อมโทรม

ที่มา : http://www.kasetcity.com/sanha/view.asp?id=309

               โดยปกติแล้วดินที่ใช้ปลูกพืชระยะแรก ๆ จะมีความอุดมสมบูรณ์สูงและมีสมบัติทั้งทางเคมี กายภาพเหมาะในการปลูกพืช แต่เมื่อได้ปลูกติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ผลผลิตพืชเริ่มจะลดลงตามลำดับ แม้ว่าจะมีการเพิ่มเติมปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ก็ตาม ลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการเสื่อมของดิน หรืออาจจะเรียกว่าได้ว่า ดินเสื่อม คือ ดินที่ปลูกพืชแล้วให้ผลผลิตต่ำกว่าผลผลิตที่เคยได้ 
               สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเสื่อมลงเร็ว ก็คือ การสูญเสียธาตุอาหารที่อยู่กับหน้าดิน ซึ่งถูกพัดพาออกไปจากพื้นที่ เพราะหน้าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์สูงสุด และโดยส่วนใหญ่พบว่าแหล่งปลูกพืชไร่ที่ปลูกติดต่อกันมานาน แทบว่าจะไม่มีหน้าดินเหลืออยู่เลย นอกจากนี้การรบกวนดินโดยไม่จำเป็นก็เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อดินมากที่สุด เช่น ไถเตรียมดินบ่อยครั้งเกินไป ใช้เครื่องมือหนักลงในแปลงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ดินแน่น ดินแน่นนั้นหมายถึงดินมีสมบัติทางกายภาพไม่เหมาะสม สมบัติทางกายภาพที่ดีต้องมีมีอากาศและน้ำพอเพียงสำหรับพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ถ้าดินมีปริมาณจุลินทรีย์ต่ำก็ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะว่ากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ในด้านการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในดินให้ครบวงจร การแปรสภาพจากเศษซากพืชให้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดิน การเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารจากรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ไปอยู่ในรูปที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ และการละลายของแร่ธาตุในดิน ซึ่งจำเป็นจะต้องผ่านกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินโดยตรง

<< Go Back