<< Go Back

การขาดแคลนน้ำ

แหล่งน้ำแห้ง

ที่มา : http://www.saisawankhayanying.com/wp-content/

สาเหตุ การขาดแคลนน้ำ
               1. ใช้น้ำฟุ่มเฟือย
               2. ขาดการอนุรักษ์อย่างจริงจัง
               3. ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
               4. แหล่งน้ำธรรมชาติถูกบุกรุกและตื้นเขิน
               5. ความต้องการเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร
               6. แหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอ
               7. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากน้ำ
ผลกระทบของปัญหาการขาดแคลนน้ำ
               การขาดแคลนน้ำนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่าง
               -  ภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม
               -  เมืองกับชนบท
               - ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเดียวกันและใช้น้ำร่วมกัน โดยเฉพาะ เมื่อไม่มีสนธิสัญญาหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร การขาดแคลนน้ำยังคงเป็นปัญหาต่อไป เนื่องจาก
               1) ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการควบคุมน้ำท่าตาม ลุ่มน้ำต่างๆ ด้วยการเก็บกักน้ำ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยเฉลี่ยรวมทั้งประเทศไม่เกินร้อยละ 20 ของ ปริมาณน้ำท่าทั่วประเทศที่มีในแต่ละปีเท่านั้น
               2) การขาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำผิวดิน เนื่องมาจากมีอุปสรรคในการพัฒนาอ่างเก็บน้ำตามลุ่มน้ำต่างๆ
               3) แหล่งน้ำธรรมชาติที่เคยใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคมักตื้นเขิน ขาดการเอาใจใส่จาก ผู้ใช้น้ำอย่างถูกต้องถูกละเลยและถูกบุกรุก นำพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน
               4) ความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อม กล่าวคือป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลงและเกิดวิกฤติการณ์น้ำเสีย 5) การใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพและผิดวัตถุประสงค์

น้ำเสียและสารพิษในน้ำ

น้ำเสียทำให้ปลาตาย

ที่มา : http://waterbyorange.blogspot.com/

สาเหตุน้ำเสีย
               1. การทำนาเกลือ
               2. น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปที่ไม่บำบัด
               3. น้ำเสียจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
               4. น้ำเสียจากสถานบริการ
การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
               1.  กรณี น้ำเค็ม น้ำกร่อย สามารถแก้ไขปัญหาโดยการเติมน้ำเพื่อลดความเค็ม
               2.  กรณีน้ำเน่าเสียสามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นใช้ผักตบชวาหรือการใช้ เครื่องจักรกลเติมอากาศ
ของเสียที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ
               สารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้ เช่น น้ำแกง น้ำล้างในครัว น้ำเชื่อม ปัสสวะ อุจจาระ เป็นต้น สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำ เช่น กระดาษ เศษเนื้อ เศษผัก ใบตอง เป็นต้น สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ท่อนเหล็ก ท่อนไม้ ตะกรัน โลหะและของแข็งชนิดต่างๆ สารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำได้ เช่น สารปรอท ตะกั่ว สังกะสี แคตเมี่ยม สารเคมีจากอุตสาหกรรมต่างๆ

น้ำท่วม

ท้ำท่วมประเทศไทยปี 2554

ที่มา : http://www.unigang.com/Article/8795

สาเหตุน้ำท่วม
               1. ฝนตกหนัก
               2. สภาพท้องที่เป็นที่ลุ่ม
               3. ป่าไม้ถูกทำลาย
               4. ขาดแหล่งเก็บกักน้ำทางต้นน้ำ
               5. ทางระบายน้ำไม่สะดวก
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่
               1. การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ทางต้นน้ำ เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากไว้  ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันอุทกภัยแล้ว ยังสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ ในหน้าแล้งได้อีกด้วย
               2. การสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมชน หรือพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง วิธีนี้แม้จะช่วยป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เป้าหมายได้ แต่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งต้องรับปริมาณน้ำมากขึ้นกว่าเดิมและทำให้ระดับน้ำในลำน้ำสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย
               3. การระบายน้ำเข้าไปเก็บกักในพื้นที่ลุ่มต่ำ วิธีนี้จะคล้ายกับสภาพธรรมชาติที่เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น น้ำจะไหลแผ่กระจายเข้าสู่ที่ลุ่มต่าง ๆ หากสามารถหาพื้นที่ลุ่มเพื่อช่วยแบ่งน้ำออกไป จะช่วยลดปริมาณน้ำหลากในลำน้ำได้มากทำให้บรรเทาปัญหาอุทกภัยแก่พื้นที่ท้ายน้ำได้
               4. เพิ่มทางผันน้ำออกสู่ทะเลให้มากขึ้น ได้แก่การเพิ่มทางระบายน้ำลงสู่ทะเล ทั้งโดยการใช้ระบบคลองระบาย ที่มีอยู่ หรือการขุดคลองขนาดใหญ่ขึ้นใหม่   เพื่อให้มีความสามารถในการระบายน้ำได้มากขึ้น
               5. การสูบน้ำออกจากพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำที่ไหลออกสู่ทะเลให้มากขึ้น  รวมทั้งการเพิ่มความเร็วแรงน้ำโดยการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ
               6. การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำและระบายน้ำออกให้สอดคล้องกับการขึ้นลงของน้ำทะเล หรือการดำเนินการตามโครงการแก้มลิง
               7. การสร้างประตูระบายปิดกั้นน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำเพื่อลดอิทธิพลของน้ำทะเลหนุน

<< Go Back