<< Go Back

             มนุษยนิยม (อังกฤษ: Humanism) หมายถึงประเภทกว้างๆ ของปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ที่ยืนยันถึงความสง่างามและคุณค่าของมนุษย์ ทุกคน โดยอาศัยหลักความสามารถของบุคคลนั้นในการบ่งชี้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยได้การยอมรับโดยมนุษย์ทั่วไปที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณภาพเชิงตรรกยะหรือเชิงเหตุผล มนุษยนิยมเป็นองค์ประกอบเฉพาะหลายๆ ตัวของระบบปรัชญาและได้รับการผนวก ไว้ในหลายสำนักคิดทางศาสนา
              มนุษยนิยม วางเงื่อนไขไว้ให้มีการค้นหาความจริงและศีลธรรมในวิธีการที่มนุษย์จะนำมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมองไปที่ ความสามารถในการกำหนดและตัดสินได้ด้วยตนเอง มนุษยนิยมจะไม่รับการชั่งใจและตัดสินใจโดยสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจ เช่นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับ "ความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล" สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือด้วยคำทำนายที่อ้างไว้ในคัมภีร์ใดๆ มนุษยนิยมสนับสนุน จริยธรรมสากล (universal morality) ที่อยู่พื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่มีความเป็นอยู่ธรรมดา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าการแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์ และปัญหาทางวัฒนธรรมของมนุษย์จะใช้แนวทางเฉพาะกลุ่มชนแคบๆ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้
มนุษยนิยมในการศึกษา
             มนุษยนิยมในเชิงของการศึกษาเริ่มมีบทบาทสำคุญในระบบโรงเรียนมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ระหว่าง พ.ศ. 2144 - พ.ศ. 2243) ซึ่งกำหนดไว้ว่าการศึกษาที่จะพัฒนาปัญญาของมนุษย์ได้คือการศึกษาที่ "ทำมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ได้มากที่สุด" พื้นฐานทางปฏิบัติที่ไป ได้ดีที่สุดคือ จิตวิทยาสมรรถพล (Faculty pchychology) หรือความเชื่อในพุทธิปัญญาที่เด่นชัด เช่นในเชิงวิเคราะห์ คณิตศาสตร์และ ภาษาศาสตร์ ฯลฯ เชื่อกันว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่จิตวิทยาสมรรถพลสามารถทำให้สมรรถพลอื่นๆ ได้รับประโยชน์เช่นกัน (การ ถ่ายทอดการฝึกฝน) ผู้มีบทบาทสำคัญในการศึกษามนุษยนิยมเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 dette her er noe tullดับบลิวที่แฮริส เจ้าของ"หน้าต่างทั้งห้าแห่งจิตวิญญาณ" (คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ไวยากรณ์ และวรรณคดี/ศิลปะ) ซึ่งเชื่อว่ามีความเหมาะสมที่สุดใน"การพัฒนาสมรรถพล" การศึกษาด้านมนุษยนิยมเชื่อว่า "การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ" คือ "การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน" ถึงแม้ว่า มนุษยนิยมในการศึกษาจะถูกหักล้างโดยนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ก็ยังมีคงยืนยงอยู่ได้ต่อไปใน โรงเรียนประจำของชนชั้นสูงหลายแห่ง และก็ยังคงมีอยู่ในวิชาต่างๆ หลายวิชาในโรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะในวิชาวรรณคดี
มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
             มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (อังกฤษ: Renaissance humanism) คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนซ์ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบ วรรณกรรมภาษาลาตินและกรีกกันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญาชนหรือครูที่สองวรรณกรรมภาษาลาติน แต่เมื่อ มาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษา "หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม" (studia humanitatis) ที่ ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาติน และกรีก
             นักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาที่นิยมกันก่อนหน้านั้นที่เรียกว่าอัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism) ซึ่งเป็น "ผู้ ร่ำเรียน" (schoolmen) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอิตาลี, ปารีส, อ๊อกซฟอร์ด และอื่นๆ การศึกษาของกลุ่มอัสสมาจารย์นิยมพัฒนามาจากความ สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และปรัชญาของกรีกโบราณและอาหรับยุคกลาง ตัวอย่างของผู้นำในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ทอมัส อควีนาสผู้ที่พยายาม สังเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่างจากหลักของมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ก็ตรงที่นักอัสสมาจารย์นิยม มิได้พึ่งวรรณกรรม หรือ ตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมันเท่ากันกับเมื่อมาถึงสมัยมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ การกลับมาพบและกลับมา ให้ความสนใจกับวรรณกรรม และ ตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และ เทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางทางวัฒนธรรมและทางปรัชญาของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนส ซองซ์มักจะเน้นบทเขียนของเพลโต ที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เริ่มเสื่อมโทรมลงเป็นครั้งแรก และให้ความสนใจน้อย กว่าในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลางตอนกลางแล้ว

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/มนุษยนิยม
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

<< Go Back