<< Go Back

          การปฏิวัติอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1750 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยน แปลงในภาคเกษตรกรรม, การผลิต, การทำเหมืองแร่, การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อ สภาพสังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่มต้นในสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงแพร่ขยายไปยัง ยุโรปตะวันตก, อเมริกาเหนือ,  ญี่ปุ่น จนขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา

          การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกแง่มุมของชีวิต ประจำวันไม่ทาง ใดก็ทางหนึ่ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่าง ยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สองร้อยปีหลังจาก ค.ศ. 1800 ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลกขยาย ตัวมาก กว่าสิบเท่า ในขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวมากกว่า หกเท่า จากคำกล่าวของผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โรเบิร์ต อี. ลูคัส จูเนียร์ "เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มาตรฐานการดำรงชีวิต ของประชาชนธรรมดาส่วนมากจะเริ่มเติบโตอย่างมั่นคง ... ซึ่งไม่เคยมีพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน"

        สหราชอาณาจักรได้วางรากฐานทางกฎหมายและวัฒนธรรมซึ่งเปิดโอกาสให้นายทุนสามารถริเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตัวแปรหลัก ที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยนี้ได้แก่

  • ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและมั่นคงจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์
  • ไม่มีข้อกีดกันทางการค้าระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์
  • หลักนิติรัฐ (เคารพความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญาการค้า)
  • ความเถรตรงของระบบกฎหมายซึ่งเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งบรรษัทมหาชน
  • แนวคิดการค้าเสรี (เศรษฐกิจทุนนิยม)

          กระบวนการเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยการเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบ พึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจ แบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของสหราชอาณา จักร โดยเริ่มในอุตสาหกรรม สิ่งทอเป็น อุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น การขยายตัวของ การค้าขายเป็นผลมาจากการพัฒนาคลอง, ถนน และทางรถไฟ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจ แบบ พึ่งพาเกษตร กรรมไปเป็นเศรษฐกิจ แบบพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจาก ชนบทเข้า สู่เมืองขนานใหญ่ และก่อให้เกิดการขยายตัวของจำนวน ประชากร

          การเปลี่ยนแปลงการผลิตครั้งสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือการผลิตชิ้นส่วนซึ่งสามารถสับเปลี่ยนกันได้ เครื่องกลึง และเครื่อง กลอื่นๆ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้การผลิตสินค้ามีความละเอียดแม่นยำสูงและสามารถผลิตซ้ำเช่นเดิม ได้เป็นจำนวน มาก ตัวอย่าง เช่น การผลิตปืนซึ่งในอดีตผลิตได้ทีละกระบอกด้วยการนำชิ้นส่วนเข้าประกอบกันอย่างพอดีจน ได้ออกมาเป็น หนึ่งกระบอก หากแต่ชิ้นส่วนในการประกอบปืนครั้งนั้นไม่สามารถใช้แทนกันกับชิ้นส่วนจากปืนกระบอกอื่นได้ ด้วยความละเอียดแม่นยำในการผลิต ซ้ำจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เอง ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของปืนสามารถแลกเปลี่ยนทดแทนกัน ได้ และยังก่อให้เกิดการผลิตแบบจำนวน มากๆ จนส่งผลให้ราคาสินค้าจากการผลิตแบบนี้ลดลงไปอย่างมาก

          การกำเนิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก, ความนิยมในอรรถประโยชน์ของกังหันน้ำ และเครื่องจักรที่ใช้ พลังงานขับเคลื่อน (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ) เป็นตัวสนับสนุนให้กำลังการผลิตขยาย ตัวอย่างมาก การพัฒนาเครื่องมือโลหะ ในช่วงสองทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบ การมีเครื่อง จักรการผลิตที่มากขึ้นแลบะนำไปใช้ ได้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ผลกระทบเกิดขึ้นแพร่ขยายออกไปทั่วยุโรป ตะวันตก และอเมริกาเหนือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนในที่สุด ก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก กระบวนการที่ดำเนินไป นี้เรียกว่า การทำให้เป็นอุตสาหกรรม และทำให้เกิดผลกระทบอย่างมโหฬารต่อสังคม

          การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกซึ่งเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถูกรวมเข้ากับการปฏิวัติครั้งที่สองในราวปี ค.ศ. 1850 เมื่อความ ก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้รับแรงขับเคลื่อนจากการพัฒนาเรือกลไฟ, ทางรถไฟ และต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยเครื่องยนต์ สันดาปภายในและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ช่วงของเวลาที่ถูกครอบคลุมด้วยการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นหลากหลายและ แตกต่างกันออกไป ในนักประวัติศาสตร์แต่ละคน อีริก ฮอบส์บอว์ม กล่าวว่ามัน เกินขึ้นในสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1780 และไม่ได้ส่งผล กระทบอย่างจริงจังจนกระทั่งทศวรรษที่ 1830 หรือ 1840 ขณะที่ ที. เอส. แอชตัน กล่าวว่ามันเกิดขึ้นอย่างฉาบฉวย ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1760 และ 1830

          นักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บางคนอย่าง จอห์น คลาแฟม และนิโคลัส คราฟต์ส ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า กระบวน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และเห็นว่าวาทกรรมในเชิงการปฏิวัตินั้น เป็นการเรียกที่ผิดเพี้ยน ซึ่งนี่ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวนั้น เคยนิ่งเฉยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการกำเนิดขึ้นของเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่  การปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดยุคของการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม  นักประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าการ เริ่มต้น ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษย์ตั้งแต่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม และเลี้ยงปศุสัตว์


โรงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุสาหกรรม


เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม


ภาพ เหล็กและถ่านหิน โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60

นิรุกติศาสตร์

          การใช้คำว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งแรกสุดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจดหมายของราชทูตฝรั่งเศส หลุยส์-กิโยม อ็อตโต ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1799 ประกาศว่าฝรั่งเศสได้เข้าร่วมการแข่งขันในการ อ็องดุซตรีแยลีส (การทำให้เป็นอุตสาหกรรม) ในหนังสือ ของเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ในปี ค.ศ. 1976 คำหลัก: คำศัพท์แห่ง วัฒนธรรม และสังคม เข้าได้กล่าวในคำนำถึงคำว่าอุตสาหกรรม: "แนวคิดด้านการจัดระเบียบสังคมใหม่โดยยึดหลักการบนการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งกระจ่างชัดในโรเบิร์ต เซาท์ธีย์ และโรเบิร์ต โอเวน ระหว่างปี ค.ศ. 1811 และ 1818 และเป็นการแน่แท้เร็วเท่ากับวิลเลียม เบลค ในช่วงต้น ทศวรรษที่ 1790 และวิลเลียม เวิร์ดเวิร์ธ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษใหม่" การใช้คำว่า "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" ใช้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้กลาย มาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงปลาย คริสต์ทศวรรษที่ 1830 ที่ซึ่งเชร็อง-อะด็อฟเฟอ บล็องกิ ได้ให้นิยามไว้ใน ลาเรวอลูซียงอ็อง ดุซตรีแยล (La révolution industrielle)ฟรีดริช เอ็นเกลส์กล่าวในหนังสือ สภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ ค.ศ. 1844 (The Condition of the Working Class in England in 1844) ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ "การปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงสังคมอารยชน ในเวลาเดียวกัน" และอาร์โนลด์ โทยินบี คือผู้ที่ทำให้วาทกรรมนี้โด่งดังจาการเขียนรายละเอียดอรรถาธิบายเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1881

นวัตกรรม


ตัวอย่างเดียวของเครื่องปั่นด้าย สปินนิงมูลโดยแซมมูเอล ครอมป์ตัน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่

          จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมถูกเชื่อมโยงอย่างมากกับนวัตกรรมจำนวนหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 18 ดังต่อไปนี้:

  • สิ่งทอ– การปั่นฝ้ายโดยใช้เครื่องปั่นด้ายพลังน้ำ วอเทอร์เฟรม ของริชาร์ด อาร์คไรต์, เครื่องปั่นด้าย สปินนิงเจนนี ของเจมส์ ฮาร์ กรีฟส์ และเครื่องปั่นด้าย สปินนิงมูล ของแซมมูเอล ครอมป์ตัน (สิ่งประดิษฐ์ผสมผสานระหว่างวอเทอร์เฟรมและ สปินนิงเจนนี) สิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1769 ก่อนจะหลุดจากสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1783 จากจุดนี้เองที่ตามมาด้วยการสร้าง โรงงานปั่น ฝ้ายมากมาย เทคโนโลยีนี้ยังถูกนำไปประยุกต์กับการปั่นผ้าเนื้อละเอียดและเส้นด้ายในภายหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบใน การทำผ้าลินิน และ สิ่งทอต่างๆ การปฏิวัติฝ้ายครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเมืองเดอร์บี ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า "โรงไฟฟ้าแห่ง ภาคเหนือ"
  • เครื่องจักรไอน้ำ – เครื่องจักรไอน้ำถูกประดิษฐ์โดยเจมส์ วัตต์ และได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1775 ซึ่งจุดประสงค์หลักก็เพื่อสร้าง พลังงานในการสูบน้ำออกจากเหมือง แต่เมื่อถึงยุค ค.ศ. 1780 เป็นต้นไป มันก็ถูกประยุกต์ใช้กับการสร้างพลังงานให้แก่เครื่องจักร ชนิดอื่นๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาโรงงานกึ่งอัตโนมัติขึ้นอย่างรวดเร็วในระดับที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้คาด การณ์ไว้มาก่อน โดยเป็นครั้ง แรกในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผู้คนไม่ต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์, แรงงานสัตว์, จากลมหรือจากน้ำอีกต่อไป เครื่องจักรไอน้ำจึงถูก ใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้สูบน้ำ ออกจากเหมือง, ใช้ลากล้อเลื่อนบรรทุกถ่านหินขึ้นมายังผิวโลก, ใช้เป่าลมเข้าสู่เตาหลอม เหล็ก, ใช้บดดินในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา และใช้สร้างพลังงานแก่โรงงาน ทุกประเภท กล่าวได้ว่าเป็นเวลามากกว่า หนึ่งร้อยปีที่ เครื่องจักรไอน้ำครองตำแหน่งราชาแห่งบรรดาอุตสาหกรรม
  • การผลิตเหล็กกล้า – ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก ถ่านหินถูกประยุกต์เข้ากับทุกขั้นตอนของการหลอมเหล็กแทน ที่ถ่านฟืนจากไม้ การนำถ่านหินมาใช้นี้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตทองแดงและ ตะกั่วมาก่อนแล้ว เช่นเดียวกับในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กดิบในเตา ถลุงทรงสูง แต่ในขั้นที่สองของการผลิตเหล็กดัดต้องพึ่งพานวัตกรรมการขึ้นรูปและการประทับตรา (ซึ่งสิทธิบัตร หมดอายุลงในปี ค.ศ. 1786) และเตาพุดดลิงของเฮนรี คอร์ต (ได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1784)

"ภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ"           ข้างต้นทั้งสามภาคนี้คือนวัตกรรมหลักที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดโดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมมักจะกล่าว ถึง อยู่เสมอ นี้ไม่ได้หมายถึงการดูแคลนนวัตกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงอุต สาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหากปราศจากนวัตกรรมยุค ก่อนหน้าอย่าง สปินนิงเจนนี หรือ ฟลายอิงชัตเทิล หรือการหลอมเหล็ก ดิบด้วยถ่านฟืน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นครั้งสำคัญ นี้ก็อาจจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนนวัตกรรมยุคหลังๆ อย่าง หูกทอผ้า หรือ เครื่องจักรไอน้ำแรงดันสูง ของริชาร์ด เทรวิทิค ก็ยังเป็นส่วนสำคัญ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน สหราชอาณาจักร การใช้เครื่องจักรไอน้ำให้พลังงานแก่โรงงานปั่นฝ้ายและโรงงานผลิต เหล็กยังทำให้ การตั้งโรงงานสามารถทำในที่ใดก็ได้ตามแต่สะดวก ไม่จำเป็นต้องตั้งใกล้แม่น้ำในการใช้พลังงานจากกังหันน้ำอีกต่อไป

          นอกจากนี้การค้นพบวิธีการทำคอนกรีตอีกครั้งในปี ค.ศ. 1756 (บนพื้นฐานมาจากการทำปูนปลาสเตอร์) โดยวิศวกรชาวอังกฤษ นามว่า จอห์น สมีตัน ก็ยังมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งความรู้ดังกล่าวสูญหายไปเป็นเวลากว่า 1,300 ปี<โครง-ส่วน>

ที่มา - th.wikipedia.org/wiki/การปฏิวัติอุตสาหกรรม

<< Go Back