<< Go Back


ที่มา - www.thaiculture.in.th 

          หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยก อำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับ มอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน

          รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพ มากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การ ปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ

  • ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
  • ผู้ใต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
  • สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง

          องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เลือกตั้ง , หลักการแบ่งแยกอำนาจ , หลักความถูกต้องแห่งกฎหมาย การเลือกตั้งคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งทำทำให้เกิดสถาบันการเมือง คือ พรรคการเมืองขึ้น 

           รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วย ประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการมอบอำนาจขึ้น ซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • อิสระแห่งการเลือกตั้ง = โดยเสรี ไม่มีการบังคับ จ้างวาน / เลือกตั้งตามกำหนดเวลา = กำหนดสมัยแน่นอน ไม่ห่างเกินไป / ประชาชนควบคุมดูแลผู้แทนของตนได้ / เลือกตั้งอย่างแท้จริง = ไม่โกง ให้ราษฎรมีส่วนร่วมการจัดการ คัดค้านการทุจริตได้
  • ออกเสียงโดยทั่วไป = ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิอย่างทั่วถึง / เลือกตั้งอย่างเสมอภาค = ทุกเสียงมีค่าเท่ากัน
  • ลงคะแนนลับ = มิให้ผู้อื่นได้รู้ว่าลงคะแนนอย่างไร เพื่อป้องกันการบังคับ

รูปแบบการเลือกตั้ง เลือกตั้งโดยตรง(ผู้เลือกตั้งเลือกผู้แทนของตนโดยตรง) เลือกตั้งโดยอ้อม(เลือกบุคคลไปเลือกผู้แทน)

  • ข้อดี เลือกตั้งโดยตรง : ได้ผู้แทนตามเจตจำนง, ผู้แทนใกล้ชิดประชาชน, ยากแก่การใช้อิทธิพล, ผู้แทนปฏิบัติงานอย่างมั่นใจ
  • ข้อเสีย เลือกตั้งโดยตรง : เขตเลือกตั้งใหญ่, ประชาชนรู้จักผู้สมัครไม่ทั่วถึง
  • ข้อดี เลือกตั้งโดยอ้อม : เลือกตั้งได้ง่าย, เลือกผู้มีความสามารถก่อนที่จะไปเลือกผู้แทนอีกครั้ง, เหมาะกับที่ที่ไม่มีการศึกษา
    ข้อเสีย เลือกตั้งโดยอ้อม : ทุจริตได้ง่าย, คนกลางมีอำนาจ, ดูถูกว่าราษฎรโง่ทำให้ไม่สนใจการเลือกตั้ง, ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง เลือกตั้งแบบรวมเขต(ถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็น1เขต)เลือกตั้งแบบแบ่งเขต(ในจังหวัดหนึ่งแบ่งเป็นเขตๆ) 
    - หลักการแบ่งแยกอำนาจ มองเตสกิเออ อธิบายใน “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” ว่าอำนาจอธิปไตยประกอบด้วยอำนาจ 3 อำนาจ คือ
    อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หากอำนาจทั้ง 3 รวมอยู่ที่องค์กรเดียวเสรีภาพของประชาชนจะไม่เกิด 
    - หลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองจะใช้อำนาจปกครองจามอำเภอใจไม่ได้ การใช้อำนาจ ปกครองจะต้องสอดคล้องถูกต้องกับกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่

          รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือ แบบรัฐสภา ,แบบประธานาธิบดี (มีการเพิ่มแบบกึ่ง รัฐสภากึ่งประธานาธิบดีเข้ามาในช่วงหลัง)

  • แบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 องค์กร คือ องค์กรประมุขของรัฐ ,องค์กรคณะรัฐมนตรีองค์กรประมุขของรัฐ อาจเป็นกษัตริย์ (ส่วนใหญ่เป็นสังคมอนุรักษ์นิยม)หรือประธานาธิบดีก็ได้(สังคมเสรีนิยม) องค์กรคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล มีความรับผิดชอบ ทางการเมืองต่อรัฐสภา หากรัฐสภาไม่ไว้วางใจก็ต้องลาออก วิธีการที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ , การไม่ผ่านร่างงบประมาณประจำปี , ไม่ผ่าน ก.ม สำคัญ ส่วนฝ่ายคณะรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ ทำให้เกิดดุลแห่งอำนาจขึ้น (ในที่สุดประชาชนก็จะเลือกตั้งใหม่)
  • แบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดี จะเป็นทั้งประมุขของรัฐ ,หัวหน้าคณะรัฐมนตรี องค์กรคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ สิทธิขาดอยู่ที่ประธานาธิบดี (คัดค้าน 7 เสียง เห็นด้วย 1 เสียง 1 เสียงชนะ)

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ 
          ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมาย 2 นัย คือ
                    1.ระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์จะปกปักษ์รักษาระบบเดิมเอาไว้
                    2. ระบบที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบทุนนิยม 
          การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดวิกฤติการณ์ ทำให้ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทั้งนี้เพื่อความ สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมของอำนาจปกครอง เมื่อใด ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจปกครองขณะนั้น ก็จะพยายามไม่ทำตามการปกครองนั้น จนในที่สุดผู้มีอำนาจปกครองเป็น ต้องใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการขึ้น 

           สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่สนับสนุนคือ ทหาร และพรรคการเมืองพรรคเดียววิธีการ ที่ทำให้ประ ชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ คือ การปราบปรามผู้โต้แย้ง ,การโฆษณาชวนเชื่อการปราบปรามผู้โต้แย้ง เช่นการจับกุม คุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน การประหารชีวิต กลไกที่ใช้คือ ก.ม. ศาล ตำรวจรูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการ ในระบบทุนนิยม มีแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ ร้ายแรง เช่น วิกฤติการณ์ ทางสังคม (โครงสร้างสังคมเปลี่ยนเกิดความสับสน จึงเกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง) วิกฤติการณ์ เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง(เกิดเมื่อประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมแห่งอำนาจประชาชน เริ่มไม่ให้ความ ร่วมมือ ในที่สุดก็ต้องใช้การปกครองแบบเผด็จการ) 

           การสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองเผด็จการแบบปฏิวัติ ผู้เผด็จการจะพยายามสร้างความชอบธรรมโดยการบังคับ เผด็จการ แบบปฏิรูป โดยอ้างถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ สถาบันการเมืองของระบบการปกครองแบบเผด็จการ จะมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ทหาร และ พรรคการเมือง(พรรคเดียว)วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการคือ

  1. การปราบปราม โดยใช้วิธีการกำจัดฝ่ายที่คัดค้านโต้แย้งอำนาจเผด็จการ วิธีการต่างๆที่ใช้ปราบปราม คือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน และการประหารชีวิต กลไกที่ใช้ปราบปรามได้แก่ กฎหมาย ศาล ตำรวจ และกลไกที่ได้ผล เด็ดขาด คือการสร้าง ตำรวจลับ ขึ้น โดยจะจัดการกับผู้ต่อต้านโดยไม่มีการพิจารณาคดีตามปกติ
  2. การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อจูงใจประชาชนให้ยอมรับอำนาจเผด็จการ
  • รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์” 
              ฟาสซิสม์ เป็นการปกครองแบบเผด็จการของประเทศอุตสาหกรรม การปกครองที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว การปกครอง ที่จัดให้มีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบทันสมัย พื้นฐานอันแท้จริงของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ คือ แนวความคิดแบบอนุรักษ์ นิยมสถาบันการเมืองของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ ได้แก่ พรรคการเมืองพรรคเดียว การจัดตั้งสมาคมอาชีพ การโฆษณาชวนเชื่อ การปราบปรามฝ่ายตรงข้าม 

    ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบสังคมนิยม 
              ประเทศสังคมนิยม ยึดถือโครงสร้างในการผลิตเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคม โดยถือว่า เครื่องมือในการผลิตเป็นของ ส่วนรวม นอกจากนี้ยังยึดถืออุดมการณ์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง เพราะอุดมการณ์เป็นความนึกคิดที่มีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างการผลิต นอกจากนี้ยังยอมรับอุดมการณ์อย่างอื่นด้วย เช่น อุดมการณ์แบบธรรมเนียมประเพณี อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น

การใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติมีลักษณะ 2 ประการคือ

  • การใช้อำนาจเผด็จการแบบชั่วคราวที่คณะปฏิวัติจะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล
  • มุ่งกล่อมเกลา เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและการดำรงชีวิตโดยไม่ต้องอาศัยเผด็จ การ ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม คือ การเลือกตั้งแบบหยั่งเสียง คือการเห็นชอบหรือ ไม่เห็น ชอบ

ที่มา - http://www.baanjomyut.com/library/democratic_system/01.html

<< Go Back