<< Go Back
อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ

          อารยธรรมเมโสโปเตเมีย แบ่งเป็น สุเมเรียน, เซมิติค, อินโดยูเรเปียน  อารยธรรมสุเมเรียน : เป็นชาติแรกที่สร้างความเจริญทางเมโส โปเตเมีย มีการปกครองแบบ “นครรัฐ” ความเจริญของชาวสุเมเรียน : ระยะแรกมีพระเป็นผู้ดูแล พระมีอำนาจสูงสุด ค่อมาเมื่อเกิดการ แข่งขันรบระหว่างนครรัฐอำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐและดูแล ควบคุมดูแลกิจการต่างๆแทนพระ การปกครองแบบนครรัฐของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมียจัดว่าเป็นนครรัฐแห่งแรกของโลก

          ชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือ เรียกว่าอักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรรูปลิ่ม (กดลงบน แผ่นดินเหนียว) เป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลขทั้งการลบ บวก และคูณ และนิยมใช้หลัก 60 60 นาที มีการสร้างระบบตวงวัดและ ปฏิทิน แบบจันทรคติ ทางสถาปัตยกรรม ชาวสุเมเรียนได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้อิฐในการก่อสร้าง ซิกกูแรค หรือหอคอยระฟ้า

 จักรวรรดิชนเผ่าเซมิติคและอินโดยูเรเปียน

          ชนเผ่าเซมิติค ได้แก่ ชาวอัคคาเดียน ชาวอมอไรต์ ชาวอัสสิเรียนและชาวคาลเดียน ชนเผ่าอินโดยูเรเปียน ได้แก่ ชาวฮิตไตท์ และชาว เปอร์เซีย ลำดับของพวกที่เข้ามารุกรานในสุเมเรียนมีดังนี้ ...

  1. ชาวอัคคาเดียน นำโดยพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 ได้ยกทัพเข้ายึดครองนครรัฐชาวสุเมเรียน และขยายดินแดนจนสถาปนาจักรวรรดิอัคคา เดียนขึ้น นับเป็นจักรวรรดิแห่งแรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์
  2. ชาวอมอไรต์ มีผู้นำชื่อว่า ฮัมมูราบี ได้สถาปนาจักรวรรดิบาบัโลเนีย มีกฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรคือ ประมวลกฏหมาย ฮัมมูราบี ใช้หลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
  3. ชาวฮิตไตท์ เก่งในด้านการทำสงคราม พวกฮิตไตท์ใช้รถรบเทียมม้าเข้าทำลายกองทหารเดินเท้าของศัตรู และยังเป็นพวกแรก ในสมัยโบราณที่รู้จักใช้เหล็ก
  4. ชาวอัสสิเรียน เป็นพวกที่มีชื่อเสียงในด้านการรบและความดุร้าย สามารถขยายจักรวรรดิออกไปได้อย่างกว้างขวาง รวบรวมอักษร คูนิฟอร์มไว้ที่หอสมัดนิเนอเวท์ ได้ทิ้งอนุสรณ์ความโหดคือ แอสซูร์บานิปาล
  5. ชาวคาลเดียน ได้สถาปนานครบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง (ได้ชื่อว่า บาบิโลเนียนใหม่) สิ่งที่ชาวคาลเดียนได้ทำคือ วิชาดาราศาสตร์ สามารถคำนวณความเคลื่อนไหวของดาวต่างๆ สามารถทำนายวันที่จะเกิดสุรยุปราคาและจันทรุปราคาได้อย่างแม่นยำ และได้สร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลนขึ้น
  6. ชาวเปอร์เซีย ชำนาญการรบและการเลี้ยงสัตว์ นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ แบ่งเป็นพระเจ้าแห่งความดีและพระเจ้าแห่งความชั่ว

การรวมอาณาจักรและการปกครองสมัยต่างๆของอียิปต์

          สมัยอาณาจักรเก่า : เป็นแบบเทวาธิปไตย นโยบายของยุคนี้คือ รักษาสันติภาพไม่รุกรานใคร นิยมสร้างสถานที่เก็บพระศพ ให้ฟา โรห์สมัยนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “ยุคพีระมิด” สมัยอาณาจักรกลาง : มีการขุดตลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำไนล์และทะเลแดง ทำให้เดินเรือได้ และสมัยนี้เองถูกพวกฮิคโซสที่ผ่านมาทางช่องแคบสุเอซเข้ารุกรานเป็นครั้งแรก และสามารถครองอียิปต์ได้นานถึง 120 ปี สมัยอาณาจักร ใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ : เริ่มจากพวกขุนนางต่อต้านการปกครองของฮิคโซสและขับไล่ออกไปจากอียิปต์ ต่อมาฟาโรห์พยายามดึงอำนาจ คืนจากขุนนาง มีการสร้างกองทัพบกและเรือ รับรูปแบบการใช้ม้าและรถศึกจากฮิคโซส และยังเริ่มการใช้เหล็ก 

 โครงสร้างการปกครองและสังคมของอารยธรรมอียิปต์

          โครงสร้างการปกครองของอียิปต์โบราณ : ฟาโรห์เป็นเทวกษัตริย์มีอำนาจควบคุมการปกครองอย่างเด็ดขาด ฟาโรห์มีเจ้าหน้าที่ ที่ช่วยปกครองสองประเภท ประเภทแรกคือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในเมืองหลวง โดยมีตำแหน่ง วิเซียส์เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจต่างๆแทน ฟาโรห์ ประเภทที่สองคือ เป็นเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น ปฏิบัติอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ฟาโรห์จะเป็นผู้ส่งออกไปดูแลปกครอง ซึ่งจะบริหาร งาน จามพระบรมราชโองการของฟาโรห์ หน้าที่สำคัญของทั้งสองคำแหน่งนี้คือ เก็บภาษี รัฐบาลของฟาโรห์ยังมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการ ชลประทาน และงานที่สำคัญของตัวฟาโรห์เองอีกอย่างคือ ควบคุมดูแลการค้ากับต่างแดน

          โครงสร้างทางสังคมของอียิปต์โบราณ : แบ่งเป็น 4 ชนชั้น คือ ยอดพีระมิด ได้แก่ ฟาโรห์ รองจากยอดพีระมิด ได้แก่ ขุนนาง พระ รองจากชนชั้นสูง ได้แก่ ชนชั้นกลาง ช่าง พ่อค้า เจ้าหน้าที่เก็บภาษี ชนชั้นต่ำสุด ได้แก่ ชาวนา

          ชาวอียิปต์ได้เขียน คัมภีร์มรณะขึ้น เนื่องจากเชื่อในชีวิตหลังความตาย โดยใช้อักษรเฮียโรกลิฟฟิคหรืออักษรภาพเป็นตัวจารึก วัดที่มีชื่อเสียงของอียิปต์ ได้แก่ คาร์นัค และลุกเซอร์

 มรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์

  • ด้านสถาปัตยกรรม : พีระมิด
  • ด้านจิตรกรรมและประติมากรรม : ภาพวาดบนผนังของพีระมิด และมีการแกะสลักหิน พระนางเนเฟอร์ติติ
  • ด้านดาราศาสตร์ : ทำปฏิทินตามสุริยคติหาทิศทางของดาวต่างๆ
  • ด้านคณิตศาสตร์ : รู้จักการบวก ลบ และหาร ทศนิยม ค้นพบว่า ¶ = 3.14 รู้จักคำนวณฟาปริมาตรของพีระมิด
  • ด้านอักษรศาสตร์ : ใช้อักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิค และยังประดิษฐ์กระดาษจากต้นปาปิรุสขึ้นใช้ด้วย
  • ด้านการแพทย์ : รู้จักการผ่าตัดแบบง่ายๆ การใช้เผือก การทำมัมมี่
  • ด้านวิศวกรรม : รู้จึกใช้เครื่องผ่อนแรง ล้อเลื่อน ลูกรอก รู้จักการทำเขื่อน

ชาวกรีกและการปกครองแบบนครรัฐ

          ชาวกรีกเป็นชาวอารยันหรืออินโดยูเรเปียน มีความเชื่อในค่าของมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์มีเกียรติและควรแก่การยกย่องความสามารถ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นกลไกของเจ้าเหนือหัวผู้ทรงอำนาจ อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งเป็นหลายสมัย ดังนี้

  1. อารยธรรมกรีกสมัยคลาสสิก : เรียกอีกอย่างว่า สมัยเฮลเลนิก มีศูนย์กลางที่เมืองเอเธนส์ มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านทั้งปรัชญา วิทยาศาสตร์ การเมือง การแพทย์ การละคร สถาปัตยกรรม ฯลฯ แต่อารยธรรมนี้ต้องสิ้นสุดเนื่องจากสงครามเพโลนีเซียน
  2. อารยธรรมสมัยเฮลเลนิสติก : เริ่มต้นเมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้อำนาจของนครรัฐมาซิโดเนีย สมัยนี้มีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ปกครอง ซึ่งพระองค์สามารถขยายอาณาเขตและแผ่ขยายอารยธรรมกรีกไปได้อย่างกว้างขวาง และทรงสนับสนุนการค้าระหว่างกรีก และ ประเทศตะวันออก นครที่มีชื่อเสียงคือ อเล็กซานเดีย ในอียิปต์ สมัยนี้มีความเจริญในด้านต่างๆเช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ ศิลป

          ในด้านการเมืองการปกครองนั้น กรีกมิได้รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่แยกเป็น นครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน นครรัฐที่มีชื่อเสียงมีสองแห่งคือ

  1. นครรัฐเอเธนส์ : เน้นผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ตำราเรียนที่สำคัญคือ มหากาพย์อีเลียด และโอดิซซี สถาบันการปกครองของนครรัฐ เอเธนส์ที่สำคัญคือ 
    - สภาสามัญหรือสภาประชาชน : มีอำนาจสูงสุดในนครรัฐทั้งด้านนิติบัญญัติและบริหาร 
    - สภาห้าร้อยคน : คณะกรรมการรับผิดชอบในการบริหารของนครรัฐ 
    - ศาลประชาชน : ถือเป็นศาลสูงสุดไม่มีการอุทธรณ์ฏีกาอีกต่อไป ถือเป็นองค์กรที่ควบคุมการบริหารโดยตรง 
    - คณะนายพลทั้งสิบ : นายพลที่มีชื่อคือ นายพลเพริคลีส มีหัวหน้าคือ ผู้บัญชาการทหาร (คล้ายนายก)
  2. นครรัฐสปาตาร์ : เป็นแบบรัฐทหาร พลเมืองทุกคนต้องเป็นทหาร ส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรมเป็นหลัก ชอบรุกรานดินแดน ใกล้เคียง เอาเชลยไปเป็นทาส เรียกว่า เฮลอต หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ กรีกโบราณทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้การปก ครองของโรมัน

นักปรัชญาที่สำคัญของกรีกโบราณ

  • ทาลิส : บิดาแห่งวิชาปรัชญา สามารถคำนวณระยะเวลาเกิดสุริยุปราคาได้ถูกต้อง ค้นคว้านำความรู้วิชาเรขาคณิตมาใช้ประโยชน์ได้
  • อแนกซีแมนเดอร์ : เป็นผู้ทำแผนที่โลกฉบับเก่าแก่ที่สุด คิดค้นว่ามนุษย์นั้นมีพัฒนาการมาจากปลา
  • โซคราตีส : สนใจด้านจริยธรรม ข้อถกเถียงทั้งหมดของเขาถูกนำมาบันทึกไว้โดยใช้ชื่อว่า ปฏิพากย์
  • เพลโต : ศิษย์คนสำคัญของโซคราตีส ไม่ค่อยชอบระบบประชาธิปไตยของกรีกเท่าไหร่ เขาได้เขียนหนังสือที่แสดงความคิด ของเขาในเรื่องการปกครอง ชื่อ อุดมรัฐ หรือหนังสือพิมพ์รีพับบลิค
  • อริสโตเติล : เขียนหนังสือเกี่ยวกับกฏหมายและรัฐธรรมนูญ ในหนังสือชื่อ The Politic และยังศึกษาความรู้เกือบทุกแขนง และเขียนตำราไว้มาก ตรรกวิทยา จริยธรรม การเมือง เป็นคนแรกของโลกที่จำแนกประเภทสัตว์ในวิชาชีววิทยา และอริสโตเติล ยังเป็นครูสอนความจริงให้กับเยาวชนชาวเอเธนส์ โดยตั้งโรงเรียน ลีเซียม
  • เฮโรโดตัส : บิดาแห่งประวัติศาสตร์ บุคคลแรกที่พยายามบันทึกเรื่องราวของชนชาติต่างๆ
  • ทูซีดิดิส : เขามองโลกเป็นกลาง ไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด และนำเสนอประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา
  • ฮิปโปกราเตส : เขียนหนังสือเกี่ยวกับการแพทย์ และยังเน้นถึงจรรยาของผู้เป็นแพทย์

มรดกทางด้านอารยธรรมของกรีกโบราณ

          การปกครองระบบประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์ : เป็นต้นแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมหรือแบบรัฐสภา ของประเทศอังกฤษในยุคปัจจุบัน สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบคลาสสิก : การใช้เสา จะจำแนกเป็น 3 แบบ คือแบบ ดอริค มีความ งามเรียบง่ายและแสดงความมั่นคง แข็งแรง เป็นแบบที่แพร่หลายมากที่สุดของกรีก แบบไอโอนิค มีการตกแต่งเป็นรูปย้อยม้วยลงมาทั้ง สองข้าง ให้ความงามอ่อนช้อย นุ่มนวล และแบบโครินเธียน จะตกแต่งมากมายด้วยการแกะเป็นรูปใบไม้ประดิษฐ์ เป็นความงามแบบ หรูหรา ฟุ่มเฟือย

  • สถาปัตยกรรมคลาสสิกที่งดงามที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน สร้างแบบดอริค ถวายแด่เทพอาธีนา ชาวกรีกจะนิยมสร้างวิหารถวาย แด่พระเจ้า ซึ่งมีประจำทุกนครรัฐ ส่วนประติมากรรมของกรีกจะมีทั้งรูปปั้นและรูปแกะสลัก โดยจะมีการแสดงการเคลื่อนไหวและ มีชีวิตชีวา
  • การละคร : กรีกเป็นผู้ให้กำเนิดการละครแก่โลกตะวันตก
  • การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก : นิยมมากที่สุดคือการแข่งกรีฑาที่จัดขึ้นทุก 4 ปีที่เมืองโอลิมเปีย
  • การสร้างประติมากรรมพระพุทธรูปของชาวกรีก : พบพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์ที่แถบอินเดีย ที่เคยมีชาวกรีกเข้ามาอาศัยอยู่ โดยพระพุทธรูปแนวนี้ได้รับอิทธิพลมาจากประติมากรรมกรีก
  • ดาราศาสตร์ : Aristarchus และ Samos เสนอว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
  • คณิตศาสตร์ : มีชื่อเสียงสุดคือ ยุคลิด
  • นักภูมิศาสตร์ : Eratosthenes เขียนแผนที่โลกสำเร็จเป็นครั้งแรก มีการแสดงเส้นรุ้ง เส้นแวง เส้นแบ่งเขต
  • ด้านฟิสิกส์ : ผู้ยิ่งใหญ่คือ อาร์คีมีดิส ได้ค้นพบวิธัวัดแรงดึงดูดและวางกฏเกี่ยวกับการใช้คานงัดลูกรอก

ชาวโรมันและโครงสร้างทางสังคม

          โครงสร้างทางสังคมของโรมัน แต่ละกลุ่มมีสิทธิทางสังคมแต่งต่างกัน ดังนี้

  1. พวกแพทริเชียน : พวกชนชั้นสูง หัวหน้าครอบครัวมีอำนาจเด็ดขาด สมัยที่โรมมีกษัตริย์ปกครอง พวกแพทริเชียนเป็นสมาชิกสภา เซเนท มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์ในนโยบายต่างๆ
  2. พวกเพลเบียน : ประชาชนโรมันส่วนใหญ่ พวกประกอบอาชีพค้าขาย ช่างฝีมือ
  3. พวกฐานะต่ำสุด พวกคลีเอนต์ : ทำนาในที่ดินของพวกแพทริเชียน โดยได้รับส่วนแบ่งตอบแทนค่าแรง

    ชาวโรมันเป็นคนทำงานหนัก กล้าหาญมากในยามสงคราม ขยัน อดทน เรียบง่าย มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบสูง ส่วนใหญ่ทำกสิกร นิยมอาบน้ำสาธารณะ กีฬาที่นิยมมากได้แก่ การแข่งรถ และการต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ที่สนามประลองยุทธ์ หรือโคลอสเซียม

          ชาวโรมันต่างจากชาวกรีกหลายประการไม่ว่าจะเป็นการหาความสำราญในสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ความตื่นเต้นในการต่อสู้ ตลอด จนการเช่าอยู่อาศัยอย่างแออัดรวมกันหลายๆหน่วย โรมันเป็นชนชาตินักรบโดยกำเนิด มีความอดทนกล้าหาญ มีการสร้างถนนจากเมือง ที่รบชนะต่อไปยังกรุงโรม และยังมีการสร้างป้อมปราการ มีกองทหารที่ดีเรียกว่า กองทหารลีเจน

การเมืองการปกครองของอารยธรรมโรมัน

สมัยกษัตริย์

  1. ฐานะและอำนาจของกษัตริย์ยังคงเป็นแบบสมัยโบราณ : เลือกโดยราษฏร อำนาจถูกจำกัดด้วยประพณี ทรงมีอำนาจในการปกครอง ลงโทษผู้ทำความผิด แต่ไม่มีสิทธิยกโทษผูเผิดโดยไม่ได้รับการยินยอมจากที่ประชุม
  2. สภาประชาชน : ที่ประชุมของราษฏรสามัญเรียกว่า พวกเพลเบียน เป็นชายฉกรรจ์เช่นเดียวกับกรีก มีอำนาจยับยั้งในข้อเสนอ ของกษัตริย์ที่จะเปลี่ยนแปลงกฏหมาย แต่ไม่มีสิทธิเรื่องกฏหมายหรือเสนอการเปลี่ยนนโยบาย
  3. สภาเซเนท : ที่ประชุมผู้อาวุโสที่เรียกว่า แพทริเซียน คือพวกหัวหน้าเผ่าต่างๆ สภานี้เป็นผู้เลือกกษัตริย์ พิจารณาข้อเสนอของ กษัตริย์ที่ผ่านสภาประชาชนมาแล้วว่าไม่ขัดกับประเพณีเดิม และเป็นศาลฏีกา

สมัยสาธารณรัฐ

           : ในสมัยแรกเป็นการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (พวกเซเนทสูงสุด) ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชน ได้สิทธิมาดังนี้

  1. พวกเพลเบียนมีสิทธิเลือกบุคคลขึ้นเป็นคณะ เรียกว่า ตรีบูน มีอำนาจคุ้มครองราษฏร 2
  2. เพลเบียนเรียกร้องให้มีการเขียนกฏหมายขึ้น เรียกว่า กฏหมาย 12 โต๊ะ ป้องกันสิทธิเสรีภาพของราษฏร
  3. ระบบสาธารณรัฐเริ่มเสื่อมลงเมื่อสภาเซเนทหันไปใช้วิธีรุนแรงในการแก้ปัญหาทางการเมือง จนภายหลังเหตุการณ์นี้นำไปสู้เผด็จ การ ทหารสมัยจักรวรรดิ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “จักรพรรดิ”

สมัยจักรวรรดิ :
          จักรพรรดิเป็นคนเดียวที่ทรงอำนาจสูงสุด พวกสภาเซเนท สภาราษฏรหมดบทบาทลงไป เท่ากับว่าเป็นระบอบราชาธิปไตย

มรดกทางด้านอารยธรรมของโรมัน
          การนำกฏหมายมาระบุเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก คือกฏหมาย 12 โต๊ะ เกี่ยวกับการปฏิบัติของศาลกฏหมายครอบครัว มรดก ทรัพย์สินและการประพฤติปฏิบัติของราษฎร

  • วรรณคดี : กวีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เวอร์จิล (อีเนอิด) โอเรซ โอวิด ซิเซโร จูเลียส ซีซาร์
  • ด้านประวัติศาสตร์ : ลีวี่ และแทคซิตุส
  • ความคิดเกี่ยวกับจักรวรรดิสากลและระเบียบสากล : เป็นสมัยสันติสุขโรมัน หมายถึง ความสงบภายใต้การปกครองของโรมัน โดยได้สร้างกฏหมายขึ้นเป็นสายใยเชื่อมโยงความจงรักภักดีที่ต่างเชื้อชาติกัน และยังใช้กำลังทหารรักษาความสงบในจักรวรรดิ ทำให้อยู่ได้เป็นเวลายาวนาน
  • วิชาภูมิศาสตร์ วิชาปรัชญา
  • ในด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
  • ด้านการก่อสร้าง มีการสร้างท่อลำเลียงน้ำ สร้างถนนโรมันใช้เชื่อมมณฑลต่างๆ อัฒจันทร์สำหรับดูกีฬา และมฃยังมีการสร้างที่ ใช้รูปโค้งและหลังคาเป็นรูปวงกลม
  • ภาษาโรมัน
  • การปกครอง : เป็นผู้วางโครงร่างการปกครองที่ยังใช้กันอยู่ในยุโรปปัจจุบัน

ที่มา - http://www.baanjomyut.com/library/human_civilization/03.html

<< Go Back