<< Go Back

  1.  สังคมยุโรปสมัยกลาง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมยุโรปในสมัยกลาง มี 2 ประการ
          1. ศาสนาคริสต์

          2. การปกครองระบบฟิวดัล
        ศาสนาคริสต์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอิตาลี เป็นศาสนาประจำชาติยุโรป มีอำนาจเหนืออาณาจักรทั้งปวง เป็นระยะเวลานานถึง 1,000ปี มีอิทธิพลต่อแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตในทุกด้าน   มนุษย์จะต้องศรัทธาและเชื่อมั่นในพระเจ้า มีเป้าหมายของชีวิตที่จะได้อยู่ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า โดยมีพิธีกรรมที่ผ่านสันตะปาปาและนักบวช
        การปกครองระบบฟิวดัล เป็นหลักการของสังคมที่ทุกคนต้องเป็นข้ารับใช้ผู้ที่เป็นใหญ่เหนือตนเสมอ   เกิดจากสภาพบ้านเมืองที่ไม่มีความสงบ และเต็มไปด้วยอันตรายจากการสู้รบทำให้ประชาชนหันไปขอความคุ้มครองจากผู้นำที่มีความเข้มแข็งกว่า คนเหล่านั้นจะตอบแทนความคุ้มครองด้วยการใช้แรงงานในที่ดินของผู้นำที่ให้ความคุ้มครองแก่ตน สังคมจะมีพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งประเทศทั้งหมด ลักษณะการปกครองพระมหากษัตริย์จะแบ่งการปกครองออกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ และมอบที่ดินในแต่ละแคว้นในขุนนางดูแล ขุนนางในแคว้นนั้นจะดูแลคนที่อาศัยทำมาหากินในที่ดินของตนทั้งหมดเหมือนทาสติดดินที่ต้องรับใช้ตน

       การสร้างศิลปกรรมในยุคนี้ เป็นกิจกรรมของวัดและคริสต์ศาสนิกชนที่มั่งคั่ง ซึ่งได้แก่พระและขุนนางซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินต่างๆในที่ดินของตน โดยบางครั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นชนชั้นสูงสุดยังไม่ร่ำรวยเท่าขุนนางและบาทหลวง เพราะพระมหากษัตริย์ปกครองแต่เพียงในนามอำนาจอยู่ที่ขุนนางผู้ปกครองแคว้นต่างๆ ศิลปะกรีกและโรมันซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนจะตกอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของวัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวทางศาสนา  และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัด

2. สงครามครูเสด
           สงครามครูเสดเกิดในปีค.ศ. 1096-1297นับระยะเวลา 200 ปี เป็นสงครามระหว่างศาสนา ที่ชาวคริสต์กับชาวมุสลิม เพื่อขับไล่ชาวมุสลิมที่เข้ายึดครองการยูรูซาเล็มอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ และอีกประการหนึ่งเพื่อแย่งชิงเส้นทางการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ชาวมุสลิมแย่งไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5
          การเปลี่ยนแปลงหลังสงครามครูเสด
           1. การขยายตัวทางการค้า สงครามทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาติตะวันออกกับทวีปยุโรปมีมากขึ้น สินค้าจากตะวันออกเป็นที่ต้องการของชาติตะวันตกคือเครื่องเทศ ผ้าไหม เมืองเวนิสและเมืองท่าหลายเมืองในอิตาลี กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่มีกำไรมหาศาล
           2. เกิดเมืองศูนย์กลางการค้า เนื่องจากการค้าขายขยายตัวทั่วยุโรป ทำให้เกิดเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้ามากมายที่มีความเหมาะสมต่อการทำธุรกิจการค้า เช่นเมือโลญน์ และเมืองออกซ์เบอร์กในเยอรมันภาคเหนือ เมืองบรูจและเมืองแอนทเวิร์พแห่งฟลานเดอร์ เมืองเวนิส ฟลอเรนซ์
มิลาน เจนัว ปิซาและโบโลนย่า ในอิตาลี เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์กลางการประดิษฐ์ การค้า และวัฒนธรรมในสมัยนั้น
           3. เกิดชนชั้นกลาง ความเจริญทางการค้า และการเกิดเมืองศูนย์กลางพ่อค้าและช่างฝีมือ เริ่มมีบทบาทและอำนาจในสังคมมากขึ้น ในขณะที่ขุนนางและอัศวินนักรบเริ่มลดความสำคัญลงไป และชนชั้นกลางเหล่านี้ได้สนับสนุนด้านการเงินแก่พระมหากษัตริย์เพื่อให้ความคุ้มครองธุรกิจการค้าและการขนส่งของตน
           4. ความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการ ชาวยุโรปได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากชาติตะวันออกเป็นจำนวนมาก เช่นวิธีการเกษตรและการทำดินปืนจากจีน วิชาดาราศาสตร์และการนับเลขแบบอินเดีย และความรู้ด้านปรัชญาสาขาต่างๆจากกรีกโบราณ
           5. การเปลี่ยนแปลงภายในศาสนจักร คนเริ่มสนใจโลกภายนอกมากขึ้น เกิดแนวคิดในการสั่งสอนศาสนาจากเดิมที่มุ่งเน้นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตในโลกหน้า กลับมาเน้นหลักมนุษยธรรมและความรักธรรมชาติรอบๆตัว โดยนำเอาหลักเหตุผลมาใช้ประกอบมากขึ้น อันเนื่องมาจากอิทธิพลแนวคิดของกรีกโบราณ
        การสิ้นสุดสมัยกลาง เนื่องมาจากความเสื่อมของระบบการปกครองแบบฟิวดัลแต่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งขึ้น กลายเป็นศูนย์กลางของการบริหาร การรักษาความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย กลุ่มคนที่มีอำนาจแทนขุนนางและพระ คือกลุ่มอาชีพต่างๆมีบทบาทในการปกครองตนเอง ในเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้า ประชาชนให้ความสนใจในการศึกษาและสร้างสรรค์งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น คัมภีร์ไบเบิลถูกแปลจากภาษาละตินเป็นภาษาท้องถิ่น ทำให้เกิดความเข้าใจในหลักคำสอนในแง่มุมต่างๆมากขึ้น
      สาเหตุที่ทำให้ระบบขุนนางเสื่อม เนื่องจากการนำปืนไฟมาใช้ในการทำสงคราม พระมหากษัตริย์โดยการสนับสนุนของชนชั้นกลางสามารถจัดตั้งกองทัพประจำการของตนขึ้นเองได้โดยไม่ต้องอาศัยกำลังไพร่พลจากขุนนา การสิ้นสุดยุคสมัยกลางของยุโรปพร้อมกับการเกิดยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในลำดับต่อมา

 

       อารยธรรมตะวันตก คืออารยธรรมของโลกในยุคปัจจุบัน ถือกำเนิดโดยชาวผิวขาวในทวีปยุโรป แต่ในขณะนี้อารยธรรมยุโรปได้แพร่หลายกระจายไปทั่วโลก
        เหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการแพร่กระจายไปทั่วโลกของอารยธรรมตะวันตก
        1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิปัญญาอันเป็นผลมาจากยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยากร   การปฏิรูปศาสนา การสำรวจและการค้นพบดินแดนใหม่ และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
        2. การปฏิวัติทางการเมือง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการเมือง การปฏิวัติในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
        3. การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม   เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการก่อตัวของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มเกิดที่ประเทศอังกฤษต่อมาไก้แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกา
      จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ นับว่ามีผลต่อการกระจายอารยธรรมตะวันตก สู่โลกอื่นๆซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

        1. ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ(Age of Renaissance)  หรือยุคการเกิดใหม่ของยุโรป เกิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่อิตาลี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการขึ้นมา ได้แก่ การเน้นการศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับมนุษย์ ตามแบบอย่างของกรีกและโรมันโบราณ หรือที่เรียกกันว่า สมัยคลาสสิก วิทยาการสาขาต่างๆของกรีกโบราณ เช่นปรัชญา วิทยาศาสตร์ เทววิทยา จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม บทกวี แฟชั่น และได้นำเอาตำรามาศึกษาอย่างแพร่หลายความรู้ของกรีกโบราณนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาธรรมชาติรอบตัวอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่สำคัญ คือ การนำหลักเหตุผลมาใช้ในการแสวงหาความรู้ และแนวคิดค่านิยม ที่เห็นความสำคัญของมนุษย์ที่สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานให้กับตนเอง ส่วนในด้านความเชื่อศรัทธาในศาสนจักรได้เปลี่ยนไป มนุษย์เริ่มสนใจกับชีวิตในปัจจุบันมากขี้น แทนที่จะสนใจชีวิตในโลกหน้า ลักษณะงานทางศิลปะจึงเน้นความคิดที่เป็นมนุษย์นิยม เน้นความงามของร่างกาย    ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์จริง ศิลปินที่สำคัญคือ ไมเคิล  แองเจลโล ซึ่งเป็นกวี นักปรัชญา นักสถาปนิก ผลงานคือ รูปปั้นเดวิด การออกแบบวิหารเซนปิเตอร์ และภาพวาดที่ผนังโบสถ์ซิสไทน์ แซมเพิล
        ยุโรปในยุดนี้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้พัฒนามาแทนระบบฟิวดัล มีการแบ่งอาณาจักรเป็นประเทศ โดยใช้เชื้อชาติและภาษาเป็นเกณฑ์ เมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางการค้า   กลายเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางศิลปะวิทยาการด้วย เช่น เมืองมิลาน เจนัว และฟลอเรนซ์ เป็นต้น

        2. การสำรวจและการค้นพบดินแดนใหม่(Age of Disscovery)
            ในคริสต์ศตวรรษที่15 ชาวยุโรปส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า โลกแบน โดยมีนครรัฐเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางของโลก แต่เมื่อพ่อค้าชาวอาหรับนำเรื่องของประเทศอินเดียมาเผยแพร่ และมาร์โค โปโล นำเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักจีนมาบอกกล่าว ทำให้ยุโรปตื่นตัวในการสำรวจดินแดนที่ยังไม่รู้จัก
         สาเหตุที่ทำให้เกิดการสำรวจเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญมีดังนี้
         1. ความต้องการสินค้าจากตะวันออก ได้แก่เครื่องเทศ ผ้าไหม แต่เส้นทางถูกขัดขวางโดยพวกเตอร์ก ในตะวันออกกลาง
         2. ความต้องการแร่เงินและทองคำ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เนื่องจากการค้าขายขยายตัวมากขึ้น
         3. ความต้องการในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ชาวสเปนและโปรตุเกส เริ่มสำรวจทางทะเล ตามชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก โดยการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์
         ชาติผู้นำในการแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังทวีปเอเชียคือสเปนและโปรตุเกส ในปลายคริสต์ศตวรรษที่15 เจ้าชานแฮรี นาวิกบุรุษราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสทรงเป็นผู้บุกเบิกการเดินเรือสำรวจชายฝั่งทวีปแอฟริกาเป็นคนแรก บาร์โธโลมิว ไดแอช เดินทางมาถึงตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา โดยไปถึงแหลมกูดโฮป ในค.ศ.1488 นับเป็นนักเดินเรือคนแรกที่สามารถอ้อมปลายแหลมของแอฟริกาใต้ได้สำเร็จ ส่วนวาสโก ดา กามา เดินทางจากกรุงลิสบอนประเทศโปรตุเกสมาถึงเมืองกาลิกัดประเทศอินเดีย โดยอ้อมแหลมกู้ดโฮปนับเป็นบุคคลแรกที่สามารถเดินทางจากทวีปยุโรปถึงทวีปเอเชีย
          ผลจากการค้นพบทวีปใหม่ ทำให้สเปนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุด เพราะสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรของชาวพื้นเมืองเผ่าเอสแตค ซึ่งตั้งอยู่ในเม็กซิโก และอาณาจักรอินคาที่เปรู ทำให้สเปนได้ทองคำและเงินมหาศาล ส่วนโปรตุเกสร่ำรวยจากการค้นพบเส้นทางไป อินเดียและนำสินค้ามาขายที่เวนิส

        3. ยุคแห่งการปฏิรูปศาสนา(Age of Reformation)
             ขบวนการมนุษยนิยม ไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงในสมัยกลาง ไปสู่สมัยใหม่ หากยังมีผลสะท้อนทางแนวความคิดที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนา ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อีกด้วย
            ทฤษฎีระบบการโคจรของโลกว่าโลกหมุนรอบแกนของตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นโดยกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ ที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล เป็นการลบล้างคำสอนของบาทหลวง ในเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล ทำให้ชาวยุโรปเกิดความสงสัยในอำนาจและคำสอนอื่นๆของศาสนจักร อิทธิพลของศาสนจักรจึงเสื่อม การที่ศาสนจักรมุ่งจะหาผลประโยชน์ในด้านเงินทองมากกว่า   จะทำหน้าที่สร้างศรัทธาและจิตวิญญาณ คนทั่วไปเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างความยากจนของตนและความมั่งคั่งของวัดและพระ
        มาร์ติน  ลูเธอร์ นักบวชชาวเยอรมัน ได้ติดประกาศคำประท้วงการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องของศาสนจักร  โดยกล่าวว่า ความเชื่อของมนุษย์เกิดจากศรัทธาของตัวมนุษย์ผู้นั้นที่มีต่อพระเจ้ามิใช่ผ่านพิธีกรรมหรือความช่วยเหลือใดๆจากพระ เขาประณามการซื้อใบไถ่บาปจากพระ การกระทำครั้งนั้นทำให้เกิดนิกายใหม่ของศาสนาคริสต์คือนิกายโปรเตสแตนต์ และมีนิกายย่อเกิดขึ้นอีกมากมาย และทำลายเอกภาพของศาสนจักรสากล ที่เคยมีมาก่อนได้สำเร็จ

        4. ยุคแห่งเหตุผลและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์(Age of Reason)
        ทฤษฎีของปโตเลมี ที่กล่าวว่าโลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล   เป็นที่เชื่อถือของชาวยุโรปมาตลอดกว่า1,000ปี จนกระทั่งค.ศ. 1553 นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ ชื่อ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เสนอทฤษฎีว่าด้วยระบบสุริยจักรวาล ที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางโลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
     ในปี ค.ศ. 1609 ได้เกิดเหตุการณ์ 2 อย่างเกิดขึ้น อันถือเป็นจุดกำเนิดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่แท้จริง คือ   นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อโจฮันเนส เคปเลอร์ ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการโคจรของดาวพระเคราะห์ โดยกล่าวว่าดาวเคราะห์โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่างกัน ในปีเดียวกัน กาลิเลโอ กาลิเลอี ชาวอิตาลี ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์เป็นผลสำเร็จ ทำให้สามารถมองเห็นการโคจรของดวงดาวบนท้องฟ้า อันเป็นการยีนยันความถูกต้องตามทฤษฎีของเคปเลอร์และโคเปอร์นิคัส
        ฟรานซิส  เบคอน ได้เสนอวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นการนำไปสู่การแสวงหาความรู้ เขากล่าวว่าทฤษฎีจะต้องเกิดจากการสังเกต และทฤษฎีจะเป็นจริงได้ด้วยวิธีการทดลอง แนวคิดของเขาเป็นต้นกำเนิดของปรัชญาที่ว่าด้วยการแสวงหาความจริงจะต้องได้มาโดยการสังเกตและทดลองเท่านั้น
        เรอเน เดส์การ์ต เป็นนักปรัชญา นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส   มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ใช้หลักของเหตุผล เป็นรากฐานของศาสนาและคณิตศาสตร์ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้ละทิ้งแนวคิดดั้งเดิมของศาสนา และให้ใช้การตั้งข้อสงสัยในทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นสงสัยในความมีอยู่ของตัวเอง และเสนอว่า การอธิบายระบบจักรวาล ทำได้ด้วยวิธีการทางคณิตศสาสตร์เท่านั้น
        ยุคของวิทยาศาสตร์ได้บรรลุจุดสุดยอด ในค.ศ. 1687 เมื่อ ไอแซค นิวตัน  ชาวอังกฤษได้เสนอกฎแห่งแรงโน้มถ่วงของจักรวาล อธิบายได้ว่า ทำไม วัตถุต่างๆจึงต้องตกลงสู่พื้นโลกเสมอ
        การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์สามารถขยายขอบเขตความรู้ต่างๆออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ ทั้งสร้างองค์ความรู้ที่มีลักษณะเป็นความรู้บริสุทธิ์ที่สามารถทดสอบหรือทำซ้ำได้ สังคมและวิถีชีวิตมนุษย์จึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

        5. การปฏิวัติอุตสาหกรรม(Industrial Revolution)
        การปฏิวัติอุตสาหกรรมหมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวิธีการและกระบวนการผลิตจากการใช้แรงงานคน
และสัตว์และรวมทั้งพลังงานธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรกลแบบง่ายๆ จนถึงสลับซับซ้อนที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว และมีกำลังการผลิตสูงจนถึงเป็นระบบโรงงานแทนระบบการผลิตในครัวเรือน หรือระบบการผลิตแบบจ่ายงานให้ไปทำตามบ้าน
        การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นผลสืบเนืองมาจาการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่16 เป็นต้นมา
มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแขนงต่างๆ ลักษณะของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่ที่เรียกว่าปฏิวัติเพราะเป็นเหตุการณ์ที่นำ
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงทางสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนเป็นจำนวนมาก

 

           ตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา ชาวยุโรปส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ผลิตอาหารและเครื่องนุ่งห่มใช้เองในครัวเรือน การคมนาคมไม่ดีมีถนนไม่มากนัก ตลาดสินค้าส่วนใหญ่เป็นเพียงตลาดประจำท้องถิ่น ช่างฝีมือประจำท้องถิ่นยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตของใช้ที่จำเป็น พลังงานใช้แรงงานคน    สัตว์และพลังงานน้ำ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ที่ดิน และแรงงาน อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูงมาก

      1. กาขยายตัวทางการค้า นับตั้งแต่การค้นพบเส้นทางการเดินเรือและดินแดนอาณานิคมใหม่ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เป็นผลให้เกิดแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า กระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจำนวนมากสนองความต้องการของตลาด
       2. ความพร้อมด้านการเงินทุน    พวกพ่อค้าประสบความสำเร็จในการค้ากับดินแดนโพ้นทะเลได้เงินมาลงทุนในกิจกรรมอุตสาหกรรมจำนวนมาก
       3.การเพิ่มขึ้นของประชากร   จำนวนประชากรของยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้สินค้าอุปโภคมีปริมาณความต้องการสูง

 

           อังกฤษเป็นชาติแรกที่มีการปฏิวัติ ปัจจัยที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีดังนี้
        1. มีการปฏิวัติทางการเกษตรมาก่อน โดยนำความรู้ทางเทคนิค วิทยาการ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆมาใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มผลผลิต ทำให้มีวัตถุดิบจาการเกษตรจำนวนมาก
        2. มีความมั่นคงทางด้านเงินทุนและมีกิจการธนาคารที่ทันสมัย เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ
       3. มีทรัพยากรและวัตถุดิบอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแร่เหล็กและถ่านหินซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
        4. มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษมีประชากรเกือบ 30 ล้านคน เป็นผลให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมอย่างมากมาย
         5. มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งและมีอำนาจทางทะเลทำให้มีอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดการค้าที่สำคัญของอังกฤษ
        6. มีความมั่นคงทางการเมือง การปกครองในระบบรัฐสภาของอังกฤษมีเสถียรภาพ กลุ่มชนชั้นกลางทั้งพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมมีบทบาทคุมสภาจึงเป็นผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าของประเทศ
       7. มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์  มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของอังกฤษมีความเจริญก้าวหน้ากว่าชาติใดๆในยุคเดียวกัน

        1. การเจริญเติบโตของเมือง จากการที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง สภาพความเป็นอยู่ในระยะแรกเริ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงอยู่กันอย่างแออัดและไม่ถูกสุขลักษณะ การบริการสาธารณสุขไม่เพียงพอ ในเมืองเต็มไปด้วยความสกปรกและมลพิษจากโรงงาน ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ เด็กๆในเมืออายุสั้น
        2. สภาพการทำงานของกรรมกร การทำงานในระบบโรงงานทำให้เกิดชนชั้นใหม่ในสังคม คือ ชนชั้นนายทุนและกรรมกร พวกกรรมกรจะอาศัยแออัดในโรงงานมีความเป็นอยู่แร้นแค้นได้รับค่าแรงเพียงพอต่อการยังชีพเท่านั้น และต้องทำงานเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ และใช้เวลายาวนานในการทำงานแต่ละวัน โดยไม่ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการจากนายจ้างเลย มีการใช้แรงงานเด็กและผู้หญิงในโรงงานทอผ้า ความยากจนของสามัญชนได้สะท้อนออกมาในรูปวรรณกรรมร่วมสมัยหลายเรื่อง ที่มีชื่อเสียงคือผลงานของ  ชาร์ลส์ ดิคเกนส์ จากเรื่องHard Time และOliver Twist

               ในระยะแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชนชั้นกรรมาชีพมีสภาพไม่ผิดกับทาสของเครื่องจักรและทาสของเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ลูกหลานกรรมกรไม่มีโอกาสเล่าเรียน ไม่มีโอกาสสร้างฐานะให้สูงขึ้น ไม่มีสิทธิทางการเมือง จึงเกิดสำนึกในเรื่องชนชั้นขึ้น กรรมกรเหล่านี้รวมพลังกันเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และสิทธิที่ตนจะพึงได้ ดังนี้ในประเทศอังกฤษจึงเกิดสภาพแรงงาน มีการนัดหยุดงาน เพื่อต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งในที่สุดได้มีการตรากฎหมายช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงาน ทำให้กรรมกรมีสิทธิและมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2449 พรรคการเมืองที่หาเสียงจากพวกกรรมกรโดยสัญญาว่าจะให้การคุ้มครองและสนับสนุนจึงได้รับการเลือกตั้งท่วมท้น

               การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนไปขึ้นอยู่การอุตสาหกรรม ประเทศที่มีวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและมีกำลังคน จึงได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรจึงกลายเป็นประเทศที่ล้าหลังทางเศรษฐกิจ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างมาก นอกจากนี้ประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องพึ่งพากันทางเศรษฐกิจเพราะเมื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรม การผลิตทางการเกษตรลดน้อยลง จึงต้องแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่น ขณะเดียวกันการแสวงหาตลาดเพื่อการค้าขาย หรือขยายตลาดระบายสินค้าก็เป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อขยายอิทธิพลออกไปในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา

               ในระยะแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชนชั้นกลางได้รับผลทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ทฤษฎีทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น สนับสนุนให้ชนชั้นกลางรักษาฐานะและผลประโยชน์ของตนไว้ ต่อมาระหว่างพ.ศ. 2414-2457 ชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของบรรดาประเทศอุตสาหกรรมเริ่มตื่นตัว แนวคิดเรื่องสังคมนิยมแบบใหม่ จึงเริ่มบทบาทขึ้นและขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางในหมู่ชั้นกรรมาชีพ    สังคมนิยมแบบใหม่ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในงานเขียนของ คาร์ลมากช์ (Karl marx)และเฟรดเดอริก เองเกลส์(Friedrich Engels)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคำประกาศลัทธิคอมมิวนิสต์(Communist Manifesto)  และทุน(Das Kapital) ซึ่งอธิบายของหลักสำคัญๆของลัทธิมากช์(Marxism) ทำให้สังคมนิยมแบบใหม่ ถูกเรียกว่าสังคมนิยมแบบมากช์(Marxist Socialism) หรือระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ที่ยกเลิกการครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว ทุกคนจะได้รับผลตอบแทนตามค่าของงานที่ทำเป็นการสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากชนชั้นและความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ แนวคิดของมากช์มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักการเมืองที่ไม่พอใจระบบแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดการปฏิวัติในรัสเซียในปีพ.ศ.2460
               การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้แพร่หลายออกไปในยุโรปและอเมริกา เมืองหลวงหลายเมืองเช่น แฮมเบิร์ก รูห์ ปรัสเซีย ได้เปลี่ยนสภาพเป็นโรงงานทอผ้า โรงงานผลิตเหล็กกล้า โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากลอนดอน ปารีส และอัมสเตอร์ดัมอุดหนุนอยู่เบื้องหลัง การเปลี่ยนแปลงในเยอรมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เอกชนเป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่ ผลิตเหล็กกล้าและอาวุธ เพิ่มขีดความสมารถในการผลิตจากเดิมถึง 26 เท่า ในขณะที่อังกฤษเพิ่มเพียง 3 เท่า   จึงทำให้เยอรมันเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ในระยะต่อมา

 

        ศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของแนวคิดประชาธิปไตยเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏในงานเขียนของนักปรัชญาทางการเมืองคนสำคัญหลายคน ซึ่งไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองดังเช่น
        จอห์นลอค แนวคิดมีอิทธิพลต่อระบอบการปกครองของอังกฤษ การประกาศอิสรภาพของอเมริกา  และการปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งสรุปได้ดังนี้
     1. อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันและเป็นอิสระแก่กัน
     2. ประชาชนร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา รัฐบาลมาจากข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน รัฐบาลจึงเป็นเพียงผู้ปกครองรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และต้องมีอำนาจจำกัด
    3. อำนาจการปกครองของรัฐบาล ได้มาจากข้อตกลงสัญญากับประชาชน ดังนั้นถ้าผู้ปกครองกระทำผิดสัญญา   ไร้ความสามารถและขาดคุณธรรม ประชาชนก็มีสิทธิ์ค้านหรือล้มล้างรัฐบาลได้
        มองเตสกิเออ  แนวคิดของเขาได้รับความนิยมมากในหมู่นักกฎหมายและนักปกครอง โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็นสามส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ  ได้มาเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและเกือบทุกประเทศในปัจจุบัน    จนเขาได้สมญานามว่า เจ้าแห่งทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจ
     วอลแตร์  เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการนับถือศาสนา และโจมตีความเสื่อมของศาสนาจักร เห็นว่าผู้ปกครองต้องเป็นผู้มีความรู้และมีเหตุผล
  รุสโซ  มีอิทธิพลมากต้องการปฏิวัติในฝรั่งเศส โดยเฉพาะคำขวัญของการปฏิวัติที่ว่า เสรีภาพ เสมอ ภราดรภาพ ได้นำมาจากผลงานการเขียนของรุสโซ  ได้รับยกย่อว่า เป็นเจ้าแห่งทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของประชาชน งานเขียนที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม กล่าวว่ารัฐบาลเกิดจากเจตจำนงร่วมกันของประชาชน รัฐบาลมีพันธสัญญาทางสังคมที่จะต้องปกครองประชาชนด้วยความยุติธรรมให้เกิดความร่มเย็นสงบสุข เมื่อใดที่รัฐผิดสัญญาประชาชนสิทธิ์ล้มล้างละเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ได้

               อังกฤษได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของประชาธิปไตย ลักษณะการปกครองของอังกฤษถือว่าเป็นแบบฉบับของสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยแบบรัฐสภา การพัฒนาทางการเมืองของอังกฤษ เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปลายสมัยกลางเป็นต้นมา
               ในปีค.ศ.1215 พระเจ้าจอหน์ที่ 5 ถูกบังคับจากขุนนาง ให้ยอมรับในกฎบัตรแมกนา คาร์ตาซึ่งจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้อำนาจของสภาขุนนาง เช่นอำนาจในการเก็บภาษี ต่อมามีกษัตริย์หลายพระองค์ ที่พยายามจะละเมิดกฎบัตรนี้ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในระหว่างปี ค.ศ. 1640-1649 พระเจ้าชาร์ลที่1ถูกสำเร็จโทษหลังจากนั้นอังกฤษได้ปกครองระบอบ
สาธารณรัฐเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยมีโอลิเวอร์ ครอมเวล เป็นประธานาธิบดี ต่อมามีการฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่2 เป็นผลให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษสิ้นสุดลง การปฏิวัติครั้งนี้ได้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพที่อังกฤษควรมี และอำนาจของรัฐสภาไว้ 3 ประการ คือ

  1. การมีรัฐบาลโดยได้รับความยินยอมพร้อมใจ
  2. การมีตัวแทนของประชาชน
  3. การมีกฎเกณฑ์ของกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ

               แนวคิดประชาธิปไตยของยุโรปได้ข้ามไปมีอิทธิพลยังดินแดนอาณานิคม 13 แห่งของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ อังกฤษจัดการปกครองอาณานิคมโดย ให้สิทธิปกครองตนเอง แต่การที่อังกฤษตักตวงผลประโยชน์ และควบคุมการค้าของอาณานิคม ทำให้เกิดสงครามประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1776 โดยมุ่งหมายมาเฉพาะประกาศเป็นประเทศอิสรภาพเท่านั้นแต่ยังแสดงถึงความต้องการมีรัฐบาลปกครองตามแบบชาวอเมริกัน
    ภายหลังการปฏิวัติได้มีการร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยได้รับแนวคิดทางการเมืองจาก จอห์นลอค ที่ชื่อว่าสัญญาประชาคม และทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออร์มาเป็นพื้นฐาน   ระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นได้เลิกทาส ไห้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนโดยไม่จำกัดผิว ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการอย่างชัดเจน ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนอยู่ในวาระ 4 ปี รัฐสภามาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร และมีศาลสูงประกอบด้วยผู้พิพากษา 9 นาย ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยความเห็นชอบของวุฒิสมาชิกเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ

 

               ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หลังจากนั้นเกิดความเสื่อมลงในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเล เป็นผลให้อำนาจของพระมหากษัตริย์และขุนนางถูกท้าทายและโค่นไปในที่สุด ปฏิวัติในฝรั่งเศสเกิดจากความต้องการความเสมอภาค เสรีภาพและภารดรภาพ สงครามประกาศอิสรภาพในอเมริกา นับเป็นแรงบันดาลใจอีกประการหนึ่งที่ทำให้ฝรั่งเศสทำการเรียกร้องจนนำไปสู่การปฏิวัติ
               อุดมการณ์ของการปฏิวัติในฝรั่งเศส ได้แก่ความความเสมอภาค อันนำไปสู่การทำลายระบบชนชั้นดั้งเดิม  เสรีภาพ คือการปกครองโดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นเครื่องประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการทำลายระบบผูกขาดทางการค้า ระบบการปะกอบอาชีพ ภรดรภาพ คือ ความรักกันฉันท์พี่น้อง  ไม่มีการแบ่งชนชั้นมีแต่ความจงรักภักดีไปที่รัฐชาติอันเป็นถิ่นกำเนิดของตน
      ปัจจุบัน ฝรั่งเศสปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุด มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มีอำนาจในการบริหาร อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น สามฝ่าย คืออำนาจบริหาร   อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ  แต่มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการปกครองสูงกว่าและมีบทบาทเหมือฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือประธานาธิบดีมาอำนาจยุบสภา เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ อำนาจบริหารจะต่างจากอเมริกาคือ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยบริหาร โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่มิได้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารเหมือนนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ รัฐสภามี 2 สภา คือ    สภาแห่งชาติ  ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และวุฒิสภาได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทางอ้อม


    << Go Back