<< Go Back

ความเป็นมาของลัทธิชาตินิยม

              ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถือว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ลัทธิชาตินิยมจึงมิได้เป็นเพียงรูปแบบทางการเมืองแต่เป็นอุดมคติในการดำเนินชีวิต

              การเกิดรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้อง ถื่น แม้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน

              ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-17 เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก และอิทธิพลของขุนนางในระบอบฟิวดัล นโยบายพาณิชยนิยม (commercialism) ซึ่งรัฐใช้นโยบาลสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วยเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง  ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒนธรรมของเชื้อ ชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของ คริสต์ศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิของชนชั้นสูงคือ กษัตริย์

              ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเรียกว่าสมัยภูมิธรรม (enlightenment) นั้นความเจริญทางวิทยาศาสตร์ขยายตัวอย่างมาก ชนชั้นกลางมีความรู้สูงและมีอำนาจทางเศรษฐกิจ ระบบปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยมของล็อคซึ่งเห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของ ประชาชน และการปกครองที่ดีเกิดการความยินยอมพร้อมใจ(consent) ของประชาชนได้รับความนิยม แนวความคิดนี้ต่อต้านระบบเทวสิทธิซึ่งยกย่องกษัตริย์ และถือว่าที่มาของอำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระเจ้า ลัทธิชาตินิยมในช่วงนี้มีลักษณะเป็นการเรียกร้องเสรีภาพและอำนาจการปกครอง ให้มาอยู่ในมือประชาชน ประเทศที่เป็นผู้นำคือประเทศอังกฤษ ซึ่งชนชั้นกลางมีอำนาจในสภาและดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยใช้รัฐสภา ส่วนในฝรั่งเศสพวกชาตินิยมปฏิวัติเพื่อล้มล้างระบอบกษัตริย์ และสถาปนารัฐที่มีเสรีภาพขึ้น จึงกล่าวได้ว่าช่วงนี้ความเป็นชาติที่แท้จริงกลายเป็นการได้มาซึ่งอำนาจและ สิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งผู้ที่ได้สิ่งเหล่านี้ไปได้แก่ชนชั้นกลาง ระยะนี้จึงจัดเป็นชาตินิยมขิงชนชั้นกลางความสำเร็จทางการค้า ชีวิตแบบเมือง เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม การล่าอาณานิคมเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมของชาติที่เจริญในยุคนี้ และความคิดดังกล่าวได้แผ่ไปทั่วยุโรป โดยเฉพาะก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งลัทธิชาตินิยมได้กลายเป็นลัทธินิยมเชื้อ ชาติ พยายามรวมคนเชื้อชาติเดียวกัน เข้าอยู่ในรัฐเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน เช่น กลุ่มชาตินิยมเยอรมันและกลุ่มชาตินิยมสลาฟ ลัทธิชาตินิยมแบบใหม่นี้มีส่วนทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วย

              การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมซึ่งเน้นความเสมิภาค ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติ เพื่อนเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองใหม่ ความคิดนี้ได้แผ่เข้าไปในเแเชียและแอฟริกา โดยเฉพาะที่เป็นประเทศอาณานิคม การกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของฝ่ายซ้ายต่อฝ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ

 

                     ที่มา : http://nationalism-socialgreen.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

<< Go Back