<< Go Back
            ความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีสาเหตุมาจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและการแย่งชิงทรัพยากร การแข่งขันทางการ เมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และศาสนา
             ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สำคัญที่นำไปสู่สงคราม และมีผลกระทบต่อโลกอย่างกว้างขวาง ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามเย็น
             สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War : ค.ศ. 1914-1918) เป็นสงครามที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เกิดจากความ ขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ สร้างความเสียหายให้แก่มนุษยชาติอย่างกว้างขวาง จึงเรียกสงครามโลกครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า มหาสงคราม (Great War)

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/25026/

             1. ลัทธิชาตินิยม (Nationalism)   ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติต่างๆประสบความสำเร็จในการรวมชาติ โดยรวมดินแดนแว่นแคว้นต่างๆของชาติตนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และก่อตั้งเป็นประเทศได้สำเร็จ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี เป็นต้น ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในหมู่ชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะ ชาวสลาฟ ในคาบสมุทรบอลคาน ต้องการเป็นอิสระและสร้างชาติของตนให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน ซึ่งทำให้ชาติต่างๆสร้างกองกำลังทหารที่เข้มแข็งเพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติตน เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่สร้างความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
             2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าแบบเสรีได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มหาอำนาจตะวันตกจึงแสวงหาอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้กำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามหลายครั้งเพื่อแย่งชิงดินแดนใน 2 ทวีปดังกล่าว ดินแดนในแอฟริกาได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ในทวีปเอเชีย อังกฤษครอบครองอินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสครอบครองลาว เขมร ญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนในตะวันออกกลางเป็น ดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต  และตุรกี การขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การสะสมกำลังทหาร กำลังอาวุธยุทโธปกรณ์และมีความหวาดระแวงต่อกันมากขึ้น
             3. มหาอำนาจในยุโรปแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ความขัดแย้งกันทั้งทางด้านการแสวงหาอาณานิคม ความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้ชาติมหาอำนาจแสวงหาพันธมิตรไว้เป็นพวก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
             1. กลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
             2. กลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน และแข่งขันกันเพื่อให้ ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นพันธมิตรของตน

ที่มา : http://writer.dek-d.com/bpimm604/story/viewlongc.php?id=565850&chapter=14

             เหตุการณ์ที่ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระเบิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
             การลอบปลงพระชนม์องค์รัชทายาทของออสเตรีย ฮังการี วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์คดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี พร้อมเจ้าหญิงโซฟี (Sophee) พระชายา ขณะเสด็จประพาส เมืองซาราเยโว (Sarajevo) นครหลวงของบอสเนียได้ถูกนายกัฟริโล ปรินซิบ นักศึกษาชาตินิยมชาวเซิร์บหัวรุนแรงลอบปลงพระชนม์เพื่อแก้แค้นที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินาและขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงใช้เหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์ดังกล่าวอ้างเป็นสาเหตุเพื่อลงโทษเซอร์เบีย ซึ่งถูกสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ จึงยื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบ เมื่อเซอร์เบียปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และบุกโจมตีเซอร์เบียทันทีเพราะเห็นว่าเซอร์เบียคอยปลุกปั่นและสนับสนุนชาวสลาฟให้แข็งข้อการปกครองของออสเตรีย-ฮังการี

             สหภาพโซเวียตในฐานะผู้พิทักษ์ชาวสลาฟก็ระดมพล เพื่อเตรียมช่วยเหลือเซอร์เบียทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ทั้งฝรั่งเศสก็ปฏิเสธที่จะวางตนเป็นกลาง เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และก็ได้ส่งกองทัพบุกเบลเยียมซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการประกันความเป็นกลางทันที เพื่อบุกฝรั่งเศสตามแผนชไลเฟิน (Schlieffen Plan : แผนการรบของเยอรมนีด้วยวิธีรบรุกอย่างรวดเร็วเพื่อจะพิชิตฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ ตามลำดับ) อังกฤษจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 สงครามระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียจึงได้ขยายตัวเป็น สงครามโลกครั้งที่ 1
             สงครามขยายออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร (The Allied Powers) มีอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต เซอร์เบีย เบลเยียม รวมทั้งอิตาลีที่เปลี่ยนใจเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตรเพราะต้องการที่จะผนวกดินแดนของออสเตรีย-ฮังการีที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่จำนวนมาก และชาติอื่นๆ รวมทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อเริ่มสงครามประกาศนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลาง จนกระทั่งเมื่อ ค.ศ. 1917 จึงเข้าข้างฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร และอีกฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย

ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/world_war_1/01.php


             1. เกิดความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล มีทหารเสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน บาดเจ็บมากกว่า 20 ล้านคน ภายหลังสงครามประชาชนในยุโรปต้องเผชิญกับโรคระบาด ความอดอยาก เศรษฐกิจตกต่ำลง อุตสาหกรรมและการค้าถูกทำลาย
             2. เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านมหาอำนาจในยุโรป ดุลอำนาจในยุโรปเปลี่ยนไปจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมันสลายตัว ดินแดนส่วนใหญ่ถูกแบ่งแยกให้ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรแม้จะชนะสงครามก็อ่อนแอลงและเสียหายอย่างหนักในระหว่างสงคราม ทำให้เกิดมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเมืองโลก ญี่ปุ่น  กลายเป็นมหาอำนาจในเอเชียและได้ครอบครองอาณานิคมต่างๆ ของเยอรมนีในเอเชีย
             3. เกิดประเทศใหม่ ดินแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แบ่งแยกออกเป็นประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี บางส่วนแยกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ประเทศเชคโกสโลวะเกียและยูโกสลาเวียจักรวรรดิรัสเซียแยกเป็นประเทศเอกราช ได้แก่ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย จักรวรรดิออตโตมันแยกเป็นประเทศแอลเบเนีย
             4. เกิดการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนใหญ่ ปืนกล แก๊สพิษ รถถัง เรือดำน้ำ โดยเฉพาะเครื่องบินประเภทต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องบินโดยสารในเวลาต่อมา
             5. เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรีย เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ เรียกว่า "สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1" (The First Austrian Republic) ส่วนเยอรมนี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า สาธารณรัฐไวมาร์ (The Weimar Republic)   สำหรับสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต" หรือสหภาพโซเวียต (The Union of Soviet Socialist Republics : U.S.S.R) เมื่อ ค.ศ. 1918 เนื่องจากการทำสงครามยาวนานทำให้เกิดภาวะขาดแคลนต่างๆ และรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ประกอบกับการพ่ายแพ้ในการรบอยู่เนืองๆ ชาว รัสเซีย  จึงก่อการปฏิวัติขึ้นก่อนสงครามโลกยุติลง กล่าวได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก อียิปต์ ปาเลสไตน์ จอร์แดน และอิรัก เปลี่ยนเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ส่วนซีเรียและเลบานอนอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส
             6. ประเทศผู้แพ้สงครามเมื่อถูกลงโทษด้วยการเสียดินแดน สูญเสียแหล่งทรัพยากรและต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างหนัก สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นอีก
             7. ประเทศทั้งหลายตระหนักถึงความหายนะของสงคราม และพยายามที่จะหาทางไม่ให้เกิดสงครามอีก ผู้นำแต่ละประเทศต่างต้องการเจรจาทำสัญญาสันติภาพโดยจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ "สันนิบาตชาติ" ขึ้น ภายหลังการเจรจาทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1919

            สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939- 1945) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี สงครามครั้งนี้ขยายไปทั่วโลกทั้งยุโรป แอฟริกา และเอเชีย มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี ได้ทำลายล้างชีวิตผู้คนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล

ที่มา : http://footballhi.blogspot.com/2011/05/10_9974.php


            1. ความไม่พอใจที่มีต่อ สนธิสัญญาแวร์ซายส์    นำไปสู่การเกิดความรู้สึกชาตินิยมรุนแรง เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ ให้แก่ชนชาติเยอรมัน การที่ประเทศผู้ชนะสงครามกำหนดเป็นเงื่อนไขลงโทษเยอรมนี เช่น การยึดครองดินแดนของเยอรมน ีและการบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายจากสงคราม การที่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ของประเทศเยอรมัน และการถูกยึดดินแดนบางส่วนไปทำให้เกิดความรู้สึกอัปยศเสียศักดิ์ศรีของชาติ
            2. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ วัตถุประสงค์สำคัญของการก่อตั้งสันนิบาตชาติ ก็เพื่อให้เป็นองค์การนานาชาติที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสันติภาพของโลก แต่ ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศและรักษาสันติภาพของโลก มีสาเหตุที่เป็นจุดอ่อนดังนี้
            2.1 สหรัฐอเมริกาไม่เป็นสมาชิก เพราะรัฐสภาไม่อนุมัติโดยไม่ยินยอมให้สัตยาบันใดๆ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี เข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ไม่นานก็ลาออก
            2.2 ชาติมหาอำนาจฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมติขององค์การสันนิบาตชาติ โดยปฏิบัติการทางทหารรุกรานประเทศอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ต้องการ สันนิบาตชาติเองก็ไม่มีกลไกอำนาจที่จะบังคับให้ประเทศใดปฏิบัติตาม (ไม่มีกองทหารที่จะบังคับให้ประเทศใดปฏิบัติตาม) ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1932 ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดแมนจูเรียของจีน สันนิบาตชาติก็ไม่สามารถเรียกร้องให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกได้ ซ้ำญี่ปุ่นยังลาออกจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติอีกด้วย อีก 4 ปีต่อมา อิตาลีเข้ายึดครองเอธิโอเปีย สันนิบาตชาติได้ประกาศคว่ำบาตรอิตาลีแต่ก็ไม่มีผลอะไร และอิตาลีก็ลาออกจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติเช่นเดียวกับญี่ปุ่น
            2.3 ความอ่อนแอของมหาอำนาจเดิม อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมหาอำนาจเดิมในทวีปยุโรปและเป็นประเทศที่ยึดมั่น ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากประสบกับความเสียหายในช่วงสงครามมาก ดังนั้นเมื่อมีประเทศที่เข้มแข็งทางทหารเกิดขึ้นและรุกรานประเทศหรือดินแดนที่อ่อนแอกว่า อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงไม่พร้อมที่จะทำตนเป็นผู้ปกป้องได้ ดังนั้นจึงใช้นโยบายรอมชอม ผลก็คือประเทศที่มีกำลังทหารที่เข้มแข็งและมี นโยบายรุกรานจะทำอะไรได้ตามความพอใจของตน
            2.4 การรวมกลุ่มพันธมิตรของมหาอำนาจแบ่งเป็นสองฝ่าย
            การก่อตัวของลัทธิชาตินิยมและ ลัทธินิยมทางทหาร  ทำให้ชาติมหาอำนาจในสมัยนั้นหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร เพื่อให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันทางทหารเมื่อถูกอีกฝ่ายหนึ่งคุกคาม มหาอำนาจ 2 กลุ่มมีดังนี้
            1. ฝ่ายอักษะ(Axis) เป็นกลุ่มประเทศนิยมเผด็จการทหาร ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ดำเนินนโยบายรุกรานขยายอำนาจ และผนวกดินแดน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสร้างความยิ่งใหญ่ให้ชาติตน
            2. ฝ่ายพันธมิตร(Allies) เป็นกลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ดำเนินนโยบายประนีประนอมและรักษาสันติภาพ การเกิดสงคราม

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ที่มา : http://www.dektube.com/action/viewarticle/24086/

            อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ได้รับเลือกเป็นผู้นำของเยอรมนีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 หลังจากนั้นเขาก็ปกครองเยอรมนี ด้วยระบอบเผด็จการและถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ เสริมสร้างกำลังทหารและอาวุธ และส่งกองทัพเข้ายึดไรน์แลนด์ที่เป็นเขตปลอดทหาร ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้ายึดครองออสเตรีย ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้านการยึดครองครั้งนี้แต่ก็ไม่ได้พยายามขัดขวางด้วยกำลัง ในปีต่อมาฮิตเลอร์ส่งทหารเข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกีย ซึ่งเป็นประเทศเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสก็ไม่ได้ขัดขวางอีกเช่นเคย ต่อมาฮิตเลอร์ส่งทหารโจมตีโปแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนที่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสมีสัญญาป้องกันร่วมกัน อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939
            ช่วงแรกของสงคราม เยอรมนีและพันธมิตรซึ่งได้เตรียมตัวทำสงครามมาก่อนแล้ว จึงเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ในยุโรปได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1940 เยอรมนีพยายามโจมตีอังกฤษทางอากาศทำให้อังกฤษได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่ระหว่างนี้เองอังกฤษก็สามารถสร้างเครื่องเรดาร์ซึ่งสามารถตรวจจับเครื่องบินของฝ่ายเยอรมันได้ ทำให้สามารถยิงเครื่องบินของเยอรมัน ที่ส่งเข้ามาทิ้งระเบิดอังกฤษได้เป็นจำนวนมาก ทำให้แผนการบุกยึดอังกฤษของฮิตเลอร์ไม่ประสบความสำเร็จ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ส่งกำลังทหารบุก สหภาพโซเวียต  ซึ่งนับเป็นความผิดพลาดทางด้านการทูตและการทหารอย่างแรงทำให้สหภาพโซเวียต ประกาศสงครามกับเยอรมนี
            ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศส นอกจากนั้นก็ยังบุกยึดแมนจูเรียของจีนใน ค.ศ. 1932 ต่อมาในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นก็โจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา ที่อ่าวเพิร์ลในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งเป็นความผิดพลาดทั้งทางทหารและการทูตอย่างแรงอีกเช่นกัน เนื่องจากการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยญี่ปุ่นนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อฝ่ายอักษะด้วย การที่สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นการเปลี่ยนความเกือบจะเป็นฝ่ายชนะของ ฝ่ายอักษะ  ให้กลับกลายเป็นความพ่ายแพ้ เนื่องจากเยอรมนีต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นของสหภาพโซเวียต สภาพอากาศอันหนาวเย็นรุนแรงและดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหภาพโซเวียต ทำให้ทหารเยอรมันต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมากมาย การที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเป็นการเสริมสร้างกำลังทั้งด้านจำนวนทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรที่อ่อนล้าและกำลังจะพ่ายแพ้ให้กลับเข้มแข็งในฉับพลัน เยอรมนีจึงถูกตีโต้กลับในยุโรปและต้องยอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945
            ส่วนทางภูมิภาคเอเชีย ญี่ปุ่นยังคงดำเนินสงครา มต่อไป โดยเผชิญกับการต่อต้านของชาวพื้นเมืองและกำลังของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งกลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูกลงยังเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิมาในวันที่ 6 และวันที่ 9 สิงหาคม ญี่ปุ่นจึงต้องยอมแพ้ในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945

            สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีประเทศเข้าร่วมมากกว่า รวมทั้งเทคโนโลยีทางด้านการทหารก็ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เกิดการทำลายล้างมากกว่า โดยมีผลดังนี้
            1. มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยมีทหารเสียชีวิตไปประมาณ 15 ล้านคน ส่วนพลเรือนเสียชีวิตไปประมาณ 35 ล้านคน มีผู้บาดเจ็บและพิการอีกมาก นอกจากนั้นยังเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินบ้านเมืองในยุโรปอย่างมากมาย

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=vuw&date=12-07-2009&group=5&gblog=12

            2. เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจของประเทศที่มีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศ จากเดิมที่ยุโรปเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่มีอาณานิคมอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกามากมาย ไปเป็นสหรัฐอเมริกา และอดีต สหภาพโซเวียต ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่ เนื่องจากได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกทั้งสองครั้งน้อย ในขณะที่มหาอำนาจเดิมได้รับผลกระทบในทางลบจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง อย่างมาก
            3. การเข้ามามีบทบาทในสงครามโลกครั้งที่ 2 และการยึดครองดินแดนในยุโรปตะวันออก ที่ถูกเยอรมนียึดครองในระหว่างสงคราม ทำให้สหภาพโซเวียตมีอิทธิพลในดินแดนเหล่านั้นและได้ทำการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าครอบงำ
            4. ความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์อย่างมากมายในสงครามครั้งนี้ ทำให้นานาชาติพยายามหาวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีกครั้งด้วยการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ โดยแก้ไขจุดอ่อนที่เคยเกิดขึ้นกับ องค์การสันนิบาตชาติ
            5. ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างได้รับเอกราช อันเนื่องมาจากสนธิสัญญาที่ฝ่ายชนะสงครามวางเงื่อนไข ให้ประเทศผู้แพ้สงครามให้ปฏิบัติตาม โดยการปลดปล่อยอาณานิคมของประเทศผู้แพ้สงครามให้เป็นเอกราช และจากการต่อสู้เรียกร้อง เอกราชของอาณานิคมในกรณีที่หลายๆ ประเทศยังไม่ได้รับเอกราช สหรัฐอเมริกาจึงแทรกแซง เช่น ช่วยเหลือสนับสนุนกบฏเพื่อให้ล้มรัฐบาลที่ไม่ใช่ฝ่ายสหรัฐอเมริกา เช่น คิวบา เป็นต้น แต่ไม่สำเร็จ


 

<< Go Back