<< Go Back

         พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535

พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน



          1. ออกแบบบ้านและหันทิศทางของบ้านให้เหมาะสมเลือกบ้านที่มีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีการระบายความร้อน

          2. สร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี

          3. จัดวางตำแหน่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจากแสงแดด

          4. ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่ตัวบ้านทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบาย

          5. เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน

          6. ใช้น้ำอย่างประหยัด น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติแต่ผ่านกระบวนการกรองและฆ่าเชื้อ

          7. การใช้เตาก๊าซ

                    - ควรเลือกใช้ถังก๊าซที่มีเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

                    - ตั้งเตาก๊าซให้ห่างจาถังก๊าซโดยใช้สายยางประมาณ 1-1.5 เมตร

                    - เมื่อเลิกใช้ ปิดวาล์วที่ตัวถังก่อน แล้วจึงปิดปิดวาล์วที่ตัวเตา

          8.การใช้หลอดแสงสว่าง

                    - ปิดไฟเมื่อเมื่อเลิกใช้งาน
                    - หมั่นทำความสะอาดหลอดแสงสว่าง
                    - ใช้หลอดแสงสว่างเท่าที่จำเป็น
                    - สำหรับสถานที่ที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดคืน ควรใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์

1.ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ

          1.1 ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพการลดชั่วโมงการทำงาน

                    - ปิดเครื่องทำน้ำเย็นซึ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก่อนเวลาเลิกงาน 15-30 นาที

                    - ปิดเครื่องส่งลมเย็น หรือเครื่องปรับอากาศแบบชุด ในเวลาพักเที่ยง

                    - ปิดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำหลังเลิกงานและวันหยุด

                    - ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ทุก 3-6 เดือน

          1.2 ปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

ปรับปรุงในส่วนระบบน้ำเย็น

                    - ควรเลือกเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง

                    - ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กแบบแยกส่วนที่มีค่า EER สูง (เบอร์5) สำหรับบริเวณที่มีการทำงานในช่วงเย็น

                    - ปรับปรุงฉนวนท่อน้ำเย็น เพื่อลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าไปสู่น้ำเย็น ซึ่งช่วยให้เครื่องทำน้ำเย็นใช้ไฟฟ้าลดลง

ปรับปรุงในส่วนระบบลมเย็น

                    - ใช้เทอร์โมสตัทชนิดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิ

                    - ใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ช่วยลดความสกปรกที่ขดน้ำเย็น

                    - ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบค่าคาร์บอนไดออกไซด์ภายในที่ทำงาน เพื่อควบคุม การเปิดปิดทางเข้าของอากาศภายนอก

                    - ใช้อุปกรณ์ควบคุมปริมาณลม พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบ มอเตอร์พัดลมของเครื่องส่งลมเย็นเพื่อขจัดปัญหาภาวะไม่สมดุลของลมที่จ่ายในแต่ละพื้นที่

2. ระบบแสงสว่าง

          2.1 ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

                    - ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน

                    - ถอดหลอดไฟในบริเวณที่มีความสว่างมากเกินความจำเป็น

          2.2 ปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

                    - เลือกใช้หลอดที่มีประสิทธิภาพสูง

                    - ใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้

                    - ใช้โคมประสิทธิภาพสูง จะช่วยลดจำนวนหลอดไฟจากเดิม 4 หลอดใน 1 โคม เหลือ 2 หลอด โดยที่ความสว่างยังคงเดิม

3. อุปกรณ์อื่นๆ

          3.1 อุปกณ์สำนักงาน

                    - ปิดเครื่องหลังเลิกงานพร้อมทั้งดึงปลั๊กออกด้วย

                    - ปิดจอภาพในเวลาพักเที่ยง

                    - ซื้อเฉพาะอุปกรณ์สำนักงานที่มีสัญลักษณ์ Energy Star

          3.2 ลิฟท์

                    - ควรใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว

                    - ควรตั้งโปรแกรมให้ลิฟท์หยุดเฉพาะชั้นคี่ หรือชั้นคู่

          3.3 ปั๊มน้ำ

                    - ใช้หัวน้ำก็อกชนิดประหยัดน้ำ

                    - ควรติดมิเตอร์วัดการใช้น้ำ แยกระหว่างระบบน้ำที่ใช้ระบายความร้อนของเครื่อง ทำน้ำเย็นกับระบบประปา เพื่อง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบการใช้ปริมาณน้ำ

                    - ควรนำน้ำจากอ่างล้างมือมาใช้รดต้นไม้

1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด

2. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี

3. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่คอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้ เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษ

4. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร

5. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมัน และสึกหรอสูง

1. ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5

ต้องเลือกใช้เบอร์ 5

3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

4. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

5. ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็น ประมาณ 12,000 บีทียู

          - ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

          -  ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นเกินไป

1. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์

2. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำ เพราะจะสูญน้ำไป โดยเปล่าประโยชน์ นาทีละหลายๆ ลิตร

3. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลว ที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น

4. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถเพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้างหนึ่งครั้ง

5. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ เพราะการล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้น้ำมากกว่า การล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50

<< Go Back