<< Go Back

การจัดโครงสี
1. สีเอกรงค์ (Monochrome)
หมายถึง การใช้สีเพียงสีเดียว ที่มีความแตกต่างของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีนั้นจากระดับอ่อนสุด (Lightness) ไปจนถึงความเข้มสุด โดยใช้วิธีของ Tint, Neutral และ Shade

                                        

2. สีพหุรงค์ (Polychromatic)
หมายถึง การใช้สีหลายๆสี ประกอบเป็นโครงสี ได้แก่
           2.1 สีที่อยู่ในตะกูลเดียวกัน(Color Family) หมายถึง สีที่มีส่วนผสมของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นหลักแบ่ง ออกเป็น 3 ตะกูลคือ
                  2.1.1 ตะกูลสีเหลือง (Yellow Family) ประกอบด้วย เหลือง-ส้มเหลือง-ส้ม-ม่วงแดง-เขียว-เขียวเหลือง

                                                                                    

                  2.1.2 ตะกูลสีแดง (Red Family) ประกอบด้วย แดง-ส้มแดง-ส้ม-ม่วงแดง-ส้มเหลือง-ม่วง-ม่วงน้ำเงิน                                     

                  2.1.3 ตะกูลสีน้ำเงิน (Blue Family) ประกอบด้วย น้ำเงิน-ม่วงน้ำเงิน-ส้มเหลือง-ม่วงแดง-เขียวน้ำเงิน-เขียว-เขียวเหลือง                                     

       2.2 สีที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน (Tone) หมายถึง กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึก แตกต่างกันในวงจรสี ได้แก่

                 2.2.1 สีวรรณร้อน (Warm Tone) หมายถึง สีใดๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีแดงและรวมทั้งสีเหลืองด้วย ให้ความรู้สึกตื่น เต้น รุนแรง ฉูดฉาด เป็นสีที่มีความสดใส และร้อนแรง มีสี 7 สี คือ เหลือง-ส้มเหลือง- ส้ม-ส้มแดง-ม่วง-แดง-ม่วงแดง                                          

                2.2.2 สีวรรณะเย็น (Cool Tone)หมายถึง สีใดๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีน้ำมันและรวมทั้งสีเหลืองด้วย ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ ชุ่มชื่น สบายตา เฉื่อยชา มี 7 สี คือ เหลือง-เขียวเหลือง-เขียว-เขียวน้ำเงิน-น้ำเงิน-ม่วงน้ำเงิน-ม่วง สำหรับสีเหลืองและสีม่วง อนุโลมให้อยู่ได้ทั้งสองวรรณะ

          2.3 สีตรงข้าม หรือสีคู่ (Complementary Colors) หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่คือ
                1. เหลือง (Yellow) กับ ม่วง(Violet)
                2. แดง (Red) กับ เขียว(Green)
                3. น้ำเงิน (Blue) กับ ส้ม(Orange)
                4. ส้มเหลือง(Yellow-Orange) กับ ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green)
                5. ส้มแดง (Red-Orange) กับ เขียวน้ำเงิน (Blue-Green)
                6. เขียวเหลือง (Yellow-Green) กับ ม่วงแดง (Red-Violet)        

วิธีการใช้สีคู่ (Double Complementary) แบ่งออกได้เป็น 3 วิธีคือ

                2.3.1 สีคู่ตรงข้ามที่ใกล้เคียงกัน (Double Complementary) หมายถึง การใช้สีสองสีที่ติดกัน กับสีคู่ตรงกันข้ามของ สองสีนั้นในวงจรสีได้แก่
                          สีเหลืองกับสีส้มเหลือง เป็นสีคู่ ตรงข้ามกับ สีม่วง กับม่วงน้ำเงิน
                          สีส้ม กับ สีส้มแดง เป็นสีคู่ ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน กับเขียวน้ำเงิน
                          สีแดง กับ สีม่วงแดง เป็นสีคู่ ตรงข้ามกับ สีเขียว กับเขียวเหลือง

                2.3.2 สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี (Split Complementary) หมายถึงการใช้สีหนึ่งกับสี สองสีที่อยู่ข้างสีคู่ตรงข้ามกันสองสี (โดยไม่ใช้สีคู่ตรงข้าม
ของ สีนั้น) เป็นการใช้สีที่ลดการ ตัดกันหรือลดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
                          สีเหลือง ใช้กับ สีม่วงแดง - สีม่วงน้ำเงิน (ไม่ใช้สีม่วง)
                          สีแดง ใช้กับ สีเขียวเหลือง - สีเขียวน้ำเงิน (ไม่ใช่สีเขียว)
                          สีน้ำเงิน ใช้กับ สีส้มแดง - สีส้มเหลือง (ไม่ใช้สีส้ม)

                 2.3.3 สีที่อยู่ห่างเป็นระยะเท่าๆ กัน 4 สี (Tetrad) หมายถึง การใช้สีที่ห่างเป็นระยะเท่าๆ กัน 4 สี ในวงจรสี นั้นคือการใช้สีคู่ตรงข้าม 2 ชุด นั้นเอง การใช้สีเขียว-ส้มเหลือง-แดง-ม่วงน้ำเงิน- นั้นก็คือการใช้สีคู่ตรงข้าง 2 ชุด ได้แก่ สีเขียว- แดง, สีส้มเหลือง-ม่วงน้ำเงิน                                                      

          2.4 สี ที่อยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triad) หมายถึง การใช้สีที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าใน วงจรสีเป็นการใช้สีไม่ตัดกันรุนแรงนัก เช่น แดง - เหลือง - น้ำเงิน - ส้มแดง - เขียวเหลือง -ม่วงน้ำเงิน                                                             

          2.5 สภาพสีส่วนร่วม (Tonality) จะเห็นว่างานศิลปะแต่ละชิ้นล้วนมีอิทธิพลของสีใดสีหนึ่ง มีอำนาจครอบงำสีอื่นหมด แม้ว่า จะมีสีอื่นเด่นชัดในบางส่วนก็ตาม สีครอบงำนี้เรียกว่า "สภาพสีส่วนรวม" ซึ่งจะทำให้ภาพเกิด เอกภาพ สมบูรณ์น่าดูยิ่ง วิธีใช้สภาพสีส่วนรวม(Tonality) อาจแบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ

                 2.5.1 ใช้สภาพสีส่วนรวม
โดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มไปทั้งภาพ ดังเช่น ทุ่งหญ้าหรือ สนามฟุตบอลซึ่งเต็มไปด้วยสีเขียว เรียกว่า สภาพสีส่วนรวมเป็นสีเขียว ถึงแม้ว่าจะปรากฏ สีเสื้อของนักกีฬาซึ่งฉูดฉาด แต่สีเหล่านี้ไม่สามารถมีอิทธิพลข่มสีเขียวซี่งเป็นสีส่วนใหญ่

                2.5.2 ใช้สภาพสีส่วนรวม
โดยผสมผสานกันด้วยสี เช่น ใช้สีแดง และสีเหลือง ระบายเป็นจุดๆสลับกันจนเต็มภาพเมื่อดูรวมๆ จะพบว่าสภาพสีส่วนรวมจะเป็นสีส้ม ตัวอย่างเช่น เมื่อ วาดภาพพุ่มไม้อันประกอบด้วยดอกไม้สีเหลืองและสีแดง เมื่อดูรวมๆ จะเห็นว่าสภาพมี ส่วนรวมเป็นสีส้ม

 

<< Go Back