<< Go Back

 

ความรู้เบื้องต้นด้านลิขสิทธิ์
1. ลิขสิทธิ์คืออะไร
        ลิขสิทธิ์เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทหนึ่ง ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
2.ประเภทของงานสร้างสรรค์
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยงานต่างๆ ดังนี้
         2.1 งานทั่วไป ได้แก่
        o งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
         o งานนาฎกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบเป็นเรื่องเป็นราว การแสดงโดยวิธีใบ้
         o งานศิลปกรรม เช่น งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม   ภาพพิมพ์ภาพประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์ ภาพถ่าย และแผนผัง ของงานดังกล่าว
         o งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทำนอง โน๊ตเพลงที่ได้แยกแยะเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
         o งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น
         o งานภาพยนต์
         o งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพคดิสก์
         o งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
         o งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
         2.2 งานสืบเนื่อง ได้แก่                                                                                                                                                                                                           o  งานดัดแปลงหมายถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์                                                                                o  งานรวบรวม หรือ ประกอบเข้าด้วยกัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
3. สิ่งที่กฎหมายไม่คุ้มครอง
สิ่งที่กฎหมายไม่คุ้มครอง ได้แก่
         - แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
         - ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ หรือการทำงาน
4. สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
ผลงานดังต่อไปนี้เป็นผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์         -ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร                                                                                                                                                                                                                                            -รัฐธรรมนูญและกฎหมาย                                                                                                                                                                                                                                                                                 -ประกาศคำสั่งระเบียบคำชี้แจงของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิน                                                                                                                                                                                                                                  - คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
         - คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
5. การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียนซึ่งมีลักษณะการได้มาดังนี้                                                                   - คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น
        -กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางานผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา    ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ ด้วย
         - กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ
         - กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
6. ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้                                                                                                                                                                                                                                   - ผู้สร้างสรรค์งานขึ้นใหม่ ซึ่งอาจเป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองเพียงผู้เดียว หรือผู้สร้างสรรค์งานร่วมกัน
        -ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง                                                                                                                                                                                         -ผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของ                                   -ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่จ้างเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น                                                                                                                                            -กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น                                                                                                                                                                                    -ผู้รับโอนสิทธิ                                                                                                                                                                                                                                              -ผู้พิมพ์โฆษณางานที่ใช้นามแฝงหรือนามปากกาที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์
7. สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
         1. เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้                                                                      2. นอกจากสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว กฎหมายยังคุ้มครองสิทธิที่เรียกว่า ธรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิในทางศีลธรรมด้วย โดยกำหนดว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะแสดงตนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และห้ามผู้อื่นมิให้กระทำการบิดเบือน   ตัดทอน   ดัดแปลง  หรือกระทำการให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์                                                                                                                                                                   8. อายุการคุ้มครองสิทธิ์
         งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ 50 ปี  นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

      กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรกยกเว้นในกรณีศิลปะประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
9.ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ                                                                                                                                                                                                                           งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะบุคคลใดๆสามารถใช้งานนั้นๆได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
10 นักแสดง                                                                                                                                                                                                                                                                หมายถึง ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้แสดงท่าทาง ร้อง กล่าวพากย์แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด
11.สิทธิของนักแสดง                                                                                                                                                                                                                                      มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตนและมีสิทธิในการรับค่าตอบแทน
12.อายุการคุ้มครองสิทธินักแสดง                                                                                                                                                                                                                           มีอายุการคุ้มครอง 50 ปี นับแต่ที่มีการแสดงหรือมีการบันทึกการแสดง

ที่มาของภาพ : http://ict.in.th/8358

<< Go Back