<< Go Back

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
      1. มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
      2. ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ
      3. นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ
      4. ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ฤทัย ฯลฯ
           ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้
      ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ
      นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา
      แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้

      1. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
      2. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
      3. พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา ฯลฯ
      4. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา ฯลฯ
      5. พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส
           สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร ฯลฯ
      6. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา ฯลฯ

      กิตติ ภริยา กิเลส มัจจุราช กิริยา มัจฉา กีฬา มัชฌิม เขต มหันต์ ขณะ เมตตา คิมหันต์ มิจฉา จตุบท มเหสี จิต มุสา จุฬา มัสสุ โจร รัตนา เจดีย์ โลหิต จุติ วัตถุ ฉิมพลี วิชา ญาติ วิญญาณ ดิถี วิตถาร ดารา วิริยะ ดุริยะ วิสุทธิ์ เดชะ วุฒิ ทัพพี สงกา ทิฐิ สังข์ นาฬิกา สงฆ์ นิพพาน สูญ นิลุบน สิริ ปฏิทิน สันติ ปฏิบัติ สัญญาณ ปฐพี เสมหะ ปกติ สัจจะ ปัญญา สติ ปัจจัย โสมนัส บุคคล อิทธิ บัลลังก์ อัคคี บุปผา อัจฉรา โบกขรณี อนิจจา ปฐม อัชฌาสัย ปัญหา อายุ พยัคฆ์ โอวาท ภัตตา โอรส ภิกขุ โอกาส

          https://aolfkun.wordpress.com/หลักการใช้ภาษาไทย/76-2/

<< Go Back