<< Go Back

วรรณยุกต์

หมายถึง ระดับเสียงสูงต่ำของคำ ในภาษาไทยแบ่งวรรรณยุกต์ออกเป็น 2 ชนิด คือ วรรณยุกต์มีรูปและวรรณยุกต์ไม่มีรูป

1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึง วรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงใช้เขียนไว้บนพยัญชนะต้นของคำ หากพยัญชนะต้นมีรูปสระอยู่ข้างบนจะเขียนรูปวรรรณยุกต์อยู่เหนือสระ คำที่มีอักษรควบและอักษรนำ จะเขียนรูปวรรณยุกต์ไว้บนพยัญชนะตัวที่ 2 รูปวรรณยุกต์มี 4 รูป คือ
    เช่น ค่ะ ป่า หมู่
    เช่น กล้อง ข้อ ครั้ง
    เช่น โต๊ะ อุ๊ย ตั้กแตน
    เช่น เก๋ จ๋า ตั๋ว

2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป คือ ระดับเสียงสูงต่ำของคำแต่ละคำ ตามหมู่ของอักษร 3 หมู่ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ซึ่งไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนรูปวรรณยุกต์กำกับเสียงวรรณยุกต์มี 5 เสียง คือ
    1) เสียงสามัญ เช่น คา ตา มา
    2) เสียงเอก เช่น ขะ ฉก หุบ
    3) เสียงโท เช่น คาบ รีบ วูบ
    4) เสียงตรี เช่น คะ ลิด ทุบ
    5) เสียงจัตวา เช่น ขา หนี ฝูง

ลักษณะและประเภทของเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายแสดงระดับเสียงสูงต่ำในภาษา คำที่มีรูปพยัญชนะและสระเหมือนกันถ้าเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน จะทำให้คำนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น

นา น่า น้า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า ไข ไข่ ไข้ เรือ เรื่อ เรื้อ

เสียงวรรณยุกต์จะปรากฏทุกครั้งเมื่อมีการออกเสียง คำไทยทุกคำจะปรากฎเสียงวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเสมอ คำบางคำมีรูปวรรณยุกต์กำกับหรืออาจจะไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ก็ได้ วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง ดังนี้

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นคำว่า คำไทยทุกคำต้องมีเสียงวรรณยุกต์กำกับเสมอ เสียงบางเสียงอาจมีรูปหรือไม่มีรูปก็ได้

วรรณยุกต์ไม่มีรูป เช่น

สำหรับวรรณยุกต์ที่มีรูป รูปกับเสียงอาจไม่ตรงกันก็ได้

วรรณยุกต์ที่มีเสียงกับรูปตรงกัน เช่น

วรรณยุกต์ที่มีเสียงไม่ตรงกับรูป เช่น

ขอบคุณที่มา

https://sites.google.com/site/hnangsuxreiyn/khwam-di
https://sites.google.com/site/siangphasathiy/seiyng-laea-rup-wrrnyukt

<< Go Back