<< Go Back

หมายถึง การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และปฏิบัติตาม เช่น การพูดโฆษณา การพูดหาเสียง การพูดเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม การพูดชักจูงให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ การพูดปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ
ผู้พูดที่ดีย่อมจะพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความเชื่อไปในทางที่ดีอันจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม โดยการใช้ความสามารถในการพูดชี้แนะให้ผู้ฟังเห็นสิ่งดีงาม ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งนั้น และช่วยกันรักษาสิ่งที่ดีงามนั้นไว้ เช่น พูดเชิญชวนให้รักภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง พูดให้หันมานิยมรับประทานอาหารไทยแทนอาหารฟาสต์ฟูดของต่างชาติ พูดแนะนำให้เห็นความสำคัญของการเกณฑ์ทหารเพื่อรับใช้ชาติ
การพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือกระทำตามนั้น ควรจะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจหรือความยินยอมพร้อมใจของผู้ฟัง มิใช่การบีบบังคับหรือการใช้อุบายอย่างอื่น เช่น แจกเงินให้รางวัลหรือการข่มขู่ ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ถูกบังคับให้เชื่อหรือทำตามนั้น เป็นความเชื่อที่อยู่ได้ไม่นาน ย่อมสลายหายไปเมื่อขาดแรงจูงใจ การพูดโน้มน้าวใจที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรบังคับ แต่จะต้องพูดให้ผู้ฟังตระหนักถึงความเป็นจริง แล้วเกิดความเชื่อถือที่จะกระทำตามด้วยความสมัครใจ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ
1. แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล
การแสดงเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ ทำให้เกิดความเชื่อถือและคล้อยตามได้ การให้เหตุผลจะต้องสมเหตุสมผล
2. เร้าให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
บุคคลที่มีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ร่วมกัน เป็นแรงผลักดันสำคัญของมนุษย์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือประสบผลสำเร็จร่วมกัน
3. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ
บุคลิกภาพหรือชื่อเสียงของผู้พูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผล
4. เสนอแนะเพื่อโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจโดยการเสนอแนะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ใช้ความคิดก่อนที่จะเชื่อถือหรือกระทำตาม

https://my.dek-d.com/tinna-tin/blog/

<< Go Back