<< Go Back

แมคเนมาร์ ได้สรุปความหมายของสติปัญญา ที่นักวิจัยกลุ่มต่างๆ ได้กล่าวไว้ว่าแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่1 ให้ความหมายของสติปัญญา ในแง่ของความสามารถใน การปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ผู้มีสติปัญญาสูงจะปรับต้วเข้ากับสิ่งแวดล้อม ได้ดีกว่า ผู้มีสติปัญญาต่ำ
กลุ่มที่2 ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้มีสติปัญญาสูงจะแก้ใขได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ
กลุ่มที่3 ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นเรื่องของความสามารถ ในการคิดแบบ นามธรรม ผู้มีสติปัญญาสูงจะคิดแบบนามธรรมได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ
กลุ่มที่4 ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นความสามารถในการเรียนรู้ ผู้ที่มีสติปัญญาสูงจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ำ
จากข้อความที่กล่าวข้างต้นทั้งหมด อาจสรุปเกี่ยวกับสติปัญญาได้ว่า สติปัญญาเป็นความสามารถในตัวบุคคล ที่จะทราบได้จากพฤติกรรมที่บุคคล แสดงออก ระดับของสติปัญญาสังเกตได้จากการแสดงออกที่มีความคล่องแคล่ว รวดเร็ว ความถูกต้อง ความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาและการปรับตัว การใช้แบบทดสอบวัดสติปัญญาจะทำให้ทราบระดับสติปัญญาชัดเจนขึ้น
ทฤษฎีทางสติปัญญา

ได้มีการศึกษาและสรุปเป็นทฤษฎีเกี่ยงข้องกับสติปัญญาหลายทฤษฎีแต่ละทฤษฎีก็พยายามอธิบายสติปัญญาว่ามีองค์ประกอบใดบ้าง
สเบียร์แมน (Spearman) ผู้ตั้งทฤษฎี 2 องค์ประกอบ ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่
1. องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ g factor) คือ ความสามารถพื้นฐานในการกระทำต่างๆที่ทุกคนต้องมี
2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific factor หรือ s factor) คือ ความสามารถเฉพาะที่แต่ละคนมีแต่ต่างออกไป หรือเรียกกันว่า
ความถนัดหรือพรสวรรค์
เธอร์สโตน (Thurstone) เจ้าของทฤษฏีหลายองค์ประกอบ แยกองค์ประกอบของสติปัญญามนุษย์ออกเป็น 7 ด้านได้แก่
1.ด้านความเข้าใจในภาษา (Verbal comprehension)
2.ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ (Word fluency)
3.ด้านตัวเลข การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Number)
4.ด้านมิติสัมพันธ์ การรับรู้รูปทรง ระยะ พื้นที่ ทิศทาง (Spatial)
5.ด้านความจำ (Memory)
6.ด้านความรวดเร็วในการรับรู้ (Perceptual speed)
7.ด้านการให้เหตุผล (Reasoning)
สเทิร์นเบอร์ก (Sternberg. 1985 : 342-344) ผู้คิดทฤษฎีสามศรเสนอว่าองค์ประกอบของสติปัญญามี 3 องค์ประกอบอธิบายเป็น 3 ทฤษฎีย่อยดังนี้
1.ทฤษฎีย่อยด้านสิ่งแวดล้อม (Contextual subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการเลือกสิ่งแวดล้อม ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและการปรับแต่งสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับสภาพของตน
2.ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแปลกใหม่ และความคล่องแคล่วในการจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ
3.ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรู้ความคิดของตนเอง การปฏิบัติตามความคิด และด้านการแสวงหาความรู้
การ์ดเนอร์ (Gardner) เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบไปด้วย ความสามารถที่แสดงออกในรูปของทักษะ 8 ด้านได้แก่
1.สติปัญญาด้านดนตรี (Music intelligence)
2.สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily kinesthetic intelligence)
3.สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence)
4.สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
6.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
7.สติปัญญาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
8.สติปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสติปัญญา
1. พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางสายพันธ์จากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน ซึ่งพิจารณาได้จาก ระดับของสติ
ปัญญา เพศ วัย และเชื้อชาติ
2. สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสติปัญญานั้น เริ่มตั่งแต่การปฏิสนธิ จนถึงการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สิ่งแวดล้อมที่
สำคัญได้แก่ ความพร้อมในการตั้งครรภ์ อาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การประสบอุบัติเหตุ การอบรมเลี้ยงดู ฐานะทางเศรษฐกิจของ
ครอบครัว การจัดสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขในการเรียนรู้
การวัดสติปัญญา
การวัดสติปัญญา เป็นการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดสติปัญญาว่าอยู่ในระดับใด ประเภทของแบบทดสอบจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
ตามลักษณะการใช้ ได้แก่
1. แบบทดสอบรายบุคคล ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยได้แก่
1.1 แบบทดสอบสติปัญญาของสแตนฟอร์ด-บิเนท์ (Stanford-Binet IntelligenceScale)
ใช้วัดเพื่อแยกเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญาออกจากเด็กปกติ แบบทดสอบประกอบด้วยแบบทดสอบชุดย่อยๆที่เกี่ยวกับการตัดสิน
ใจ (Judgment) การหาเหตุผล ( Reasoning) และความเข้าใจ (Comprehension)
1.2 แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler Scales) ใช้วัดระดับสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3
ชุด ได้แก่
1.2.1 Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence ใช้กับเด็กอายุ 4-6 ปี
1.2.2 Wechsler Intelligence Scale for Children-Revise (WISC-R) ใช้ทดสอบเด็กอายุ 6-16 ปี
1.2.3 Wechsler Adult Intelligent Scale (WAIS) ใช้ทดสอบบุคคลอายุ 16-75 ปี
2. แบบทดสอบเป็นกลุ่ม ใช้ในการทดสอบพร้อมกันเป็นกลุ่ม ที่ใช้ในประเทศไทย จะเป็นแบบทดสอบเชาว์ปัญญาวัฒนธรร มเสมอภาค เพราะใช้ได้กับบุคคลทุกชาติ ทุกภาษา และทุกวัฒนธรรม เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำได้แก่ แบบทดสอบโปรเกสสีพเมตริคส์ของRaven


         https://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/สติปัญญา.htm

<< Go Back