<< Go Back

การใช้ภาษา

ความหมายและขอบเขตของการใช้ภาษา

การใช้ภาษา หมายถึง การติดต่อสื่อความหมายในสังคมให้เป็นที่เข้าใจกันด้วยการฟังผู้อื่นพูดบ้าง ให้ผู้อื่นฟังบ้าง อ่านสิ่งที่ผู้อื่นเขียน และเขียนบางสิ่งบางอย่างให้ผู้อื่นอ่านบ้าง นอกจากจะติดต่อกับบุคคลในสมัยเดียวกันแล้ว อาจติดต่อกับคนในอดีตหรืออนาคตได้ การติดต่อกับคนในอดีตคือ อ่านข้อความหรือเรื่องราวที่มีผู้เขียนไว้ในหนังสือ เอกสาร หลักฐานในสมัยต่าง ๆ ก็ทำให้มีโอกาสได้รับทราบ เข้าใจในความคิดของบุคคลนั้น ๆ แม้ว่าเขาจะล่วงลับไปแล้วก็ตามส่วนการติดต่อกับบุคคลในอนาคตนั้น คือ ติดต่อด้วยการเขียนหนังสือไว้ให้ชนรุ่นหลังอ่าน หรือบันทึกเสียงพูดไว้ให้ชนรุ่นหลังฟัง

วัฒนธรรมในการใช้ภาษา

1. การใช้ภาษาให้ถูกวัฒนธรรม
เมื่อได้มีการให้ความหมายของคำวัฒนธรรมไว้ว่า "คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชนในชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน" การใช้ภาษาให้ถูกหลักวัฒนธรรมน่าจะเป็นไปในความสอดคลัองกับความหมายดังกล่าว
พระยาอนุมานราชธน ให้ข้อคิดไว้ว่า "การใช้ภาษาไม่ถูกตามแบบแผนของภาษาไทยหรือพูดจาสามหาวนั้น เป็นการผิดวัฒนธรรม" การใช้ภาษาให้ถูก

วัฒนธรรมจึงน่าจะมีลักษณะดังนี้
1. ใช้ถูกตามแบบแผนของภาษาไทย
2. ใช้คำสุภาพ หลีกเลี่ยงคำหยาบคาย หรือหยาบโลน
3. ใช้คำพูดที่สื่อความหมายแจ่มแจ้ง ไม่กำกวม
4. ใช้ภาษาที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจดีระหว่างกัน ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะ
5. ใช้ภาษาที่เป็นสิริมงคล ในพิธีการต่าง ๆ
6. ใช้ภาษาที่ไพเราะ ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ
7. ใช้ภาษาที่เป็นคติเตือนใจ
8. ใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ และเหมาะกับฐานะของบุคคล

2. วัฒนธรรมที่แทรกหรือสัมพันธ์อยู่กับการใช้ภาษา
การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน เห็นได้ว่ามีเรื่องของวัฒนธรรมแทรกอยู่ด้วยเสมอ เช่น เมื่อมีการกล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้ คติธรรม สำนวน ภาษิต สุภาษิต ทั้งในร้อยแก้ว ร้อยกรอง ในภาษาพูดและภาษาเขียนความเชื่อต่าง ๆ ของชาวบ้านที่แทรกอยู่ในนิทาน เรื่องเล่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรม แต่ละยุคแต่ละสมัยเพลงพื้นเมือง นิทาน การละเล่น คำทายต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า คติชาวบ้าน หรือคติชนวิทยา

จุดมุ่งหมายในการใช้ภาษาตามแนววัฒนธรรม
1. เพื่อสื่อสาร
2. เพื่อสั่งสอน
3. เพื่อสร้างสรรค์

 

https://sites.google.com/site/kaewsarphadnuk/kar-chi-phasa

<< Go Back