<< Go Back

การเล่นเสียงสัมผัสนั้น ได้แก่
1. การเล่นเสียงสัมผัสสระ ได้แก่ คำที่มีเสียงคล้องจองกันด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)เช่น
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล
2. การเล่นสัมผัสพยัญชนะ หรือสัมผัสอักษร ได้แก่ คำที่คล้องจองกันด้วยเสียงพยัญชนะต้น เช่น
เมื่อมั่งมีมากมายมิตรหมายมอง
เมื่อมัวหมองมิตรมองหม่นเหมือนหมูหมา
เมื่อไม่มีมิตรหมางเมินไม่มองมา
เมื่อมอดม้วยแม้หมูหมาไม่มามอง
3. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ การใช้เสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ในคำที่มีพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกดเหมือนกัน โดยไล่เรียงไปตามระดับเสียงวรรณยุกต์ เช่น
บัวตูมตุมตุ่มตุ้ม กลางตม
สูงส่งทงทานลม ล่มล้ม
แมลงเม้าเม่าเมาฉม ซมซราบ
รูรู่รู้ริมก้ม พาดไม้ไทรทอง
เขาขันคูคู่คู้ เคียงสอง
เยื้องย่างนางยูงทอง ท่องท้อง
ทิวทุ้งทุ่งทุงมอง มัจฉพราศ
เทาเท่าเท้ายางหย้อง เลียบลิ้มริมทาง
4. การสัมผัสใจ ได้แก่ คำที่ไม่มีเสียงคล้องจองกันทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ แต่ทว่าเลือกสรรใช้ถ้อยคำได้ไพเราะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ สัมผัสใจนี้ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจมากยิ่งกว่าสัมผัสสระหรือสัมผัสพยํญชนะ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ให้ความสำคัญกับสัมผัสใจมาก และมักจะยกตัวอย่างด้วยกลอนจากขุนช้างขุนแผนบทนี้เสมอ
เงยหน้าขึ้นเถิดเจ้าพิมเพื่อน แก้มเปื้อนมาจะเช็ดน้ำตาให้

         https://www.gotoknow.org/posts/343262]

<< Go Back