<< Go Back

เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเล่ากันต่อ ๆมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไรก็ตามได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ขึ้นอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ
ทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎรโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนามผู้แต่ง จากการชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่งได้ดังนี้
1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ที่ 2 มี 4 ตอน คือ
- พลายแก้วได้นางพิม
- พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
- ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
- ขุนแผนพานางวันทองหนี
2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
- ขุนช้างขอนางพิม
- ขุนช้างตามนางวันทอง
3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
- กำเนิดพลายงาม
4. สำนวนของครูแจ้งมี 5 ตอน คือ
- กำเนิดกุมารทอง
- ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
- ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
- ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
- จระเข้เถรขวาด
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนสุภาพ
เนื้อเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไล ต่างก็เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้วรักอยู่กับนางพิมพิลาไลย แต่ขุนช้างก็หลงรักนางพิมพิลาไลยด้วยเช่นกัน จึงขอร้องให้เทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมพิลาไลย แต่นางพิมพิลาไลยไม่ยินยอม ต่อมาพลายแก้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย หลังจากแต่งงานได้สองวันก็เกิดศึกเมืองเชียงทอง พลายแก้วต้องไปราชการสงคราม ระหว่างนี้นางพิมพิลาไลยป่วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ฝ่ายขุนช้างได้ออกอุบายว่าพลายแก้วตายในสงคราม นางศรีประจันมารดาของนางวันทองรับปากจะยกนางวันทองให้ขุนช้าง ส่วนพลายแก้วกลับจากราชการสงครามได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน และได้นางลาวทองเป็นภรรยา นางวันทองและนางลาวทองเกิดหึงหวงกัน ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ขุนช้างได้นางวันทองเป็นภรรยา ต่อมาขุนช้างกล่าวโทษขุนแผนว่าละทิ้งหน้าที่ราชการอยู่เวร ขุนแผนจึงได้รับโทษไปเป็นนายด่านตระเวนชายแดน ระหว่างนี้ขุนแผนได้ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง ขุนแผนจึงขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาและพานางวันทองหนี ต่อมาเมื่อวันทองตั้งท้อง จึงพากันไปหาพระพิจิตรเพื่อให้พาเข้าสู้คดีที่กรุงศรีอยุธยา ขุนแผนชนะคดีได้นางวันทองกลับคืน ขุนแผนทูลขอนางลาวทองซึ่งถูกกักขังอยู่ในวัง สมเด็จพระพันวษากริ้วจึงให้จำคุกขุนแผนไว้ ขุนช้างพาพรรคพวกมาขุนนางวันทอง ต่อมาวันทองคลอดพลายงามบุตรขุนแผน ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่าแต่ไม่ตาย เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กและได้อาสาทำศึกเมืองเชียงใหม่ พร้อมขอตัวขุนแผนไปช่วยสงคราม และพลายงามได้นางศรีมาลาลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตรเป็นภรรยา
ครั้นเสด็จศึกเมืองเชียงใหม่แล้ว พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถพร้อมกับได้รับพระราชทานนางสร้อยฟ้า ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่เป็นภรรยา ในวันประกอบพิธีแต่งงานจมื่นไวยวรนาถกับนางศรีมาลา นางวันทองกับขุนช้างมาในงานด้วย ขุนช้างดื่มเหล้าเมาจึงมีเรื่องกับจมื่นไวยวรนาถ ขุนช้างถูกทำร้ายจึงถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยวรนาถ มีการพิสูจน์ดำน้ำ ขุนช้างถูกตัดสินประหารชีวิต แต่จมื่นไวยวรนาถขอชีวิตไว้ตามที่นางวันทองขอร้อง และลักพานางวันทองไปอยู่กับขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกา สมเด็จพระพันวษาทรงให้นางวันทองเลือกจะอยู่กับใครนางวันทองตัดสินใจไม่ได้ จึงกริ้ว ให้นำตัวนางวันทองไปประหารชีวิต
ต่อมานางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลาเกิดวิวาทกันด้วยความหึงหวง นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรวาททำเสน่ห์ให้หมื่นจไวยวรนาถหลงรักตน กลายชุมพลซึ่งเป็นลูกขุนแผนกับนางแก้วกิริยามาช่วยแก้เสน่ห์ แต่ไม่สำเร็จ ขุนแผนมาช่วยก็ไม่สำเร็จ ทำให้ขุนแผนโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลปลอมตัวเป็นมอญยกทัพมาล้อมกรุง เพราะหวังจะฆ่าหมื่นจไวยวรนาถ ความทรงทราบ ถึงพระพันวษาจึงทรงตัดสินคดี นางสร้อยฟ้าพิสูจน์ด้วยการลุยไฟแต่เป็นฝ่ายแพ้ จึงถูกส่งตัวกลับไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ส่วนเถรขวาดแปลงตัวเป็นจระเข้มาอาละวาดที่กรุงศรีอยุธยา พลายชุมพลอาสาปราบจระเข้เถรขวาดและจับเถรขวาดได้ จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิต ส่วนพลายชุมพลได้เป็นหลวงนายฤทธิ์



 


http://oknation.nationtv.tv/blog/Duplex/2008/03/06/entry-13

<< Go Back